วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

 

      วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นายมูฮัมหมัดซุกรี มาแจ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1

จุดประสงค์ของการทดลอง
1. รวบรวมข้อมูลและสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
2. วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษ
2. ดินสอสี
3. ที่สูดลม
4. วัสดุและอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกโป่ง หิน ถุงมือยาง หลอด 
5. น้ำสี 
6. บีกเกอร์
7. กระบวกตวง
8. ขวดรูปชมพู่

วิธีการทดลอง
1. นำก้อนหิน ใส่ในภาชนะมีรูปร่างและปริมาตรคงที่
2. เทน้ำสี 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในภาชนะที่มีรูปร่างแตกต่างกัน (เทน้ำสีลงในบีกเกอร์ กระบอกตวง และขวดรูปชมพู่)
3. สูดลมเข้าลูกโป่ง แล้วนำหลอดมาเชื่อมกับปากลูกโป่งกับถุงมือยาง
4. บันทึกการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส และสร้างแบบจำลองอนุภาค








อภิปรายผลการทดลอง
        จากกิจกรรม เมื่อเปรียบเทียบแบบจำลองอนุภาคของแข็งกับของเหลวและแก๊ส พบว่าอนุภาคของแข็งจะเรียงชิดกัน โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลวและแก๊ส จึงทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรคงที่ ไม่ว่าจะใส่ไว้ในภาชนะใด
        เปรียบเทียบแบบจำลองอนุภาคของเหลวกับของแข็งและแก๊ส พบว่าอนุภาคของเหลวอยู่ใกล้กันโดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลวน้อยกว่าของแข็งแต่มากกว่าแก๊ส อนุภาคของของเหลวจึงเคลื่อนที่ได้แต่ไม่เป็นอิสระ รูปร่างของของเหลวจะเปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะที่บรรจุ แสดงให้เห็นว่าของเหลวมีรูปร่างไม่คงที่ แต่มีปริมาตรคงที่
        เปรียบเทียบแบบจำลองอนุภาคของแก๊สกับของแข็งและเหลว พบว่าอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมาก อนุภาคจึงเึลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง เมื่อบรรจุแก๊สในภาชนะในภาชนะที่มีรูปร่างและปริมาตรต่างกัน อนุภาคของแก๊สจะฟุ้งกระจายจนเต็มภาชนะที่บรรจุ ทำให้แกีสมีรูปร่างและปริมตรไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างและปริมาตรของภาชนะ ดังนั่นเมื่อปล่อยมือที่บีบหลอด แก๊สจากลูกโป่งที่มีลักษณะเป็นทรงกลมเคลื่อนที่ไปยังถุงมือยาง แก๊สจะฟุ้งกระจายเต็มถุงมือยาง ทำให้แก๊สมีรูปร่างและปริมาตรตามถุงมือยาง ในขณะที่ลูกโป่งมีขนาดเล็กลง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น