วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา


วันที่ 20 ธันวาคม2559 เวลา10.30 น.โรงเรียนดำรงวิทยา จัดกิจกรรมแข่งขัน"การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ "สำหรับนักเรียนในโครงการ SMP ของโรงเรียนดำรงวิทยา เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการเข้ามาร่วมแข่งขันและ แสดงผลงานอีกทั้งให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยการประกวดจัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา



 







ซึ่งการประกวดโครงงานมีกลุ่มที่เข้าส่งร่วมการแข่งขันทั้งหมด 7 กลุ่ม อาทิ
1.โครงงานเปรียบเทียบชากล้วยน้ำว้าและกล้วยหิน


2.โครงงานการศึกษาประสิทธภาพการป้องกันลูกน้ำยุงของสมุนไพรพื้นบ้าน

3.โครงงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมูลสัตว์จากการเจริญเติบโตของผักสลัด
4.โครงงานการสำรวจพืชสมุนไพรในหมู่บ้านวังหิน
5.โครงงานเปรียบเทียบคุณภาพของถ่านจากเศษไม้ในท้องถิ่น
6.โครงงานการตรวจสอบค่าpH และปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
7.โครงงานการเปรียบเทียบอัตราส่วนของถ่านในสบู่เหลวดับกลิ่นยางก้อนถ้วย
โดยการประกวดโครงงานครั้งนี้มีคณะกรรมการสามท่านเป็นผู้ตัดสินการประกวดโครงงาน


ซึ่งทางโรงเรียนมีความมุ่งหวังที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการได้มีเวทีประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานยิ่งขึ้น สำหรับผลการแข่งขันประกวดโครงงานจะประกาศให้รับทราบในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ พร้อมมอบเกียรติบัตรและของรางวัล

โครงการ SMP: การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้สู่ Thailand 4.0

      การดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (โปรแกรมวิทย์-คณิต) ให้กับโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษา นับเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายใน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประกอบด้วย คณาจารย์จากหลักสูตรคณิตศาสตร์  (ค.บ.5 ปี) วิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี) คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.5 ปี) เคมี (วท.บ.4 ปี) ฟิสิกส์ (วท.บ.4 ปี) ชีววิทยา (วท.บ.4 ปี) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.4 ปี) เทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.4 ปี) และบุคลากรจากศูนย์วิทยาศาสตร์  ร่วมกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 6 โรงเรียน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอที่ดูแลโรงเรียนในโครงการ ผนวกกับนโยบาย
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อวางฐานไปสู่การพัฒนาเป็น "สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทั้งระบบมุ่งไปสู่การสร้าง Teacher 4.0 และร่วมกับคณะครุศาสตร์ ผลิตบัณฑิตครูนักปฏิบัติการมืออาชีพ ใช้หอพักเป็นฐาน เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีคุณลักษณะและทักษะเหมาะสมกับบริบทจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยมหาวิทยาลัยฯ กำหนดเป็นโครงการยุทธศาสตร์มุ่งเป้า (Flagship Project) ไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569)

   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โครงการ SMP มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ใน 6 โรงเรียนเครือข่าย ทั้งการปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้ใช้การได้อย่างดี เหมาะสำหรับเป็นห้องปฏิบัติการ การจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จัดหาสื่อโสตทัศนปกรณ์ หนังสือ และการจัดหาวัสดุ สารเคมีสำหรับการทดลองแต่ละการทดลองตามหลักสูตร ที่สำคัญก็คือ การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบสอนในโครงการ SMP ให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐาน จัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์  นำเสนอโครงงานในกิจกรรมวิชาการ โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นโค้ช (Coach) จับคู่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และลงนิเทศก์ในพื้นที่โรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพครูในโครงการ SMP ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงโครงการ SMP ในปีต่อไปให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ปะแต  ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโครงการ SMP ได้มีการจัดการเรียนสอนในห้องปฏิบัติการแล้ว ซิ่งได้รับการอำนวยความสะดวกโดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ยังได้เปิดบริการให้กับครูผู้สอนที่สนใจที่ทำการการสอนในห้องปฏิบัติการด้วย
                                                   
 
              จากรูปการเรียนสอนในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรแจกไทล์  
 

การทดลองเรื่องการเกิดพลังงานความร้อน



คณะกรรมการและนักวิทยาศาสตร์โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์เข้าร่วมประชุม การจัดสรรงบประมาณปี60 ซึ่งในจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้จะมีการจัดสรรงบประมาณออกเป็นสองส่วน
 คือ 1. จัดสรรในด้านสื่อการเรียนการสอน
2. จัดสรรในด้านการสนุบสนุนโครงงาน 
ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมและครูเป็นอย่างดี





วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

             จากที่ทางโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP) ได้จัดสรรค์ สนับสนุนงบประมาณ จัดซื้อหนังสือเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ให้นักเรียนห้อง SMP ของโรงเรียนในเครือข่ายนั้น  
          โรงเรียนได้ดำเนินการ  โดยนำหนังสือทั้งหมดแยกออกเป็น หมวดหมู่ แล้วติดเลขรหัสของหนังสือทุกเล่มไว้ที่หน้าปกหนังสือ  เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้   โดยมีสมุดบันทึกการยืม - คืน หนังสือ ซึ้งนักเรียนสามารถมา ยืมหนังสือได้ทุกเล่มและเมื่ออ่านเสร็จแล้วให้ส่งกลับมาคืน โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ดูแลหนังสือทั้งหมด 
          โดยส่วนใหญ่นักเรียนจะสนใจหนังสือที่มีเนื้อหาตรงกับที่เรียนในห้องเรียน และช่วงเวลาที่นักเรียนมักจะมา ยืมหนังสือ ในช่วงพักและคาบกิจกรรม

           




วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนดำรงวิทยา


    จากที่โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์(SMP)ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดการเรียนการสอนผ่านการลงมือปฏิบัติ การแก้ปัญหาและเรียนรู้ผ่านโครงงานนั้น ทางโรงเรียนได้เร่งดำเนินการให้นักเรียน SMP ทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 5-6 คน โดยมีครูหมวดวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นที่ปรึกษาและคอยอำนวยความสะดวกในด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้กับนักเรียน


 
    และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 นักเรียนในโครงการ SMP  ได้ร่วมกันมาทำโครงงานในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยมีครูและนักวิทยาศาสตร์ มาเป็นที่ปรึกษา



 และทางโรงเรียนจะมีการจัดกิจกรรมแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน SMP ภายในโรงเรียน ในวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ณ ห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา




วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

           วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 นักวิทยาศาตร์ประจำโรงเรียนได้ลงปฏิบัติงานประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ การให้บริการใช้ห้องวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เรียนคาบชุมนุมโครงงานวิทยาศาสตร์ ทุก ๆ วันอังคาร ตั้งแต่เวลา 11.30 น.-12.20 น. การใช้สื่อ และวัสดุ- อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และการบริการยืม-คืน หนังสือเรียนเสริมความรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน ให้แก่เด็กนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ภาคเรียนที่ ของปีการศึกษา 2559






          โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนทางด้านปฏิบัติการวิชาชีววิทยาพื้นฐาน ซึ่งการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยาสัปดาห์ละ วัน ทุกคืนวันอังคาร (หญิง) และวันพุธ (ชาย) ในช่วงเวลา 19.00 น.–21.00 น.
1.บทปฏิบัติการ เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้ทำการทดลองวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2559
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ศึกษา
          1. บอกชื่อและอธิบายการทำงานและส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูต้อง
          2. ทราบหลัการใช้งานและวิธีการเก็บรักษาของล้องจุลทรรศน์ได้




       

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

วันที่ 6/12/2559 เวลา 10:00 น. คณะกรรมการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ smp โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยาได้มีการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานการจัดซื้อวัสดุ ในการใช้งบประมาณโครงการ smp ปี 2560 ที่จัดสรรให้กับทางโรงเรียนเครือข่าย เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และสื่อทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียน smp ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ smp
และชี้แจงการดำเนินงานการจัดกิจกรรมปีงบประมาณ 2560 ให้คณะกรรมการโรงเรียนรับทราบและดำเนินงาน เพื่อวางแนวทางให้กับนักเรียน smp ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

รูปภาพรูปภาพรูปภาพรูปภาพ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติเพื่อการกำหนดแผนการดำเนินงานและเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2560

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.30-15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จัดประชุมปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินงานในโครงการ SMP ร่วมกับผู้บริหารโครงการห้องเรียน SMP จากทั้ง 6 โรงเรียนเครือข่าย โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฯ เป็นประธานในการจัดประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ และการจัดกิจกรรมของโครงการไม่ซ้ำซ้อนกับกิจกรรมปกติของแต่ละโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการให้เป็นไปตามเป้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ

     สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินงานเร่งด่วนในเดือนธันวาคม 2559 นี้ เพื่อการประชาสัมพันธ์รับนักเรียนใหม่รุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 ซึ่งจะเริ่มรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560  โดยมีทั้งนักเรียนประเภทโควต้าจากโรงเรียนเดิม และโรงเรียนอื่นๆ รวมทั้งการสอบคัดเลือก โดยมีเป้าหมายยอดนักเรียนใหม่ในโครงการ SMP รุ่นที่ 2 จำนวนประมาณ 260 คน  โปรดติดตามรายละเอียดของการรับสมัครในเว็บไซต์ของโครงการ และเว็บไซต์ของโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน
   นอกจากนั้น ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาประเด็นการกำหนดเรื่องที่จะจัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่ครูผู้สอนในโครงการ โดยที่ประชุมเสนอให้จัดประชุมปฏิบัติการ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเรื่องของทักษะการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยชั้นเรียน ครั้งนที่ 2 เรื่อง การจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้ (ต่อยอดจากการอบรมเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยทีมวิทยากรจาก โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล่าธนบุรี)
 

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติการกรรมการเครือข่าย SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ภาพเพิ่มเติม...
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการดำเนินงานในโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ฯ หรือโครงการ SMP จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดแผนงาน กิจกรรมในการดำเนินงานร่วมกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2559 โดยการบันทึกความร่วมมือ (MoU) ดำเนินงานร่วากันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนจากโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหาร ผู้สอนในโครงการ SMP จาก 6 โรงเรียน และผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชนประจำอำเภอและจังหวัดยะลา กว่า 60 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาโครงการ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ เปิดการประชุม และให้นโยบายในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยและขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยินดีเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง มีหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีความพร้อมทั้งคณาจารย์ ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากเพียงพอ
 นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาโดย ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และมีการนำเสนอผลการวิจัยประเมินโครงการประจำปี 2559 ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานใน
โครงการ SMP ในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบ ได้แก่ ความชัดเจนในระยะแรกของการการดำเนินงานโครงการ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างห้องปฏิบัติการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีขนาดและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ การกำหนดรายการประกอบแบบ (BoQ) ที่สอดคล้องกับราคากลางหรือราคามาตรฐาน การขาดช่างฝีมือแรงงานในพื้นที่  นอกจากนั้น เรื่องเวลาที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม มีวันหยุดเรียนบ่อย เป็นต้น
     สำหรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ทางผู้แทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ได้ให้ความเห็นว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ เพราะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอน และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือที่เกี่ยวข้อง  ส่วนทางผู้บริหารโรงเรียน ให้ข้อเสนอแนะว่า ทางสำนักงานการศึกษาเอกชนมีโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดอยู่ ควรพิจารณาว่าสามารถทำร่วมกันกับโครงการ SMP ได้หรือไม่ จะได้เป็นการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะใน 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ SMP


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประชุมปฏิบัติการกรรมการเครือข่าย SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ภาพเพิ่มเติม...
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการดำเนินงานในโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ฯ หรือโครงการ SMP จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดแผนงาน กิจกรรมในการดำเนินงานร่วมกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2559 โดยการบันทึกความร่วมมือ (MoU) ดำเนินงานร่วากันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนจากโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหาร ผู้สอนในโครงการ SMP จาก 6 โรงเรียน และผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชนประจำอำเภอและจังหวัดยะลา กว่า 60 คน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาโครงการ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ เปิดการประชุม และให้นโยบายในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ได้กล่าวชื่นชมผลการดำเนินงานโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยและขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยินดีเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเอง มีหลักสูตรทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักเรียนเลือกศึกษาต่อ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีความพร้อมทั้งคณาจารย์ ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากเพียงพอ
 นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาโดย ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และมีการนำเสนอผลการวิจัยประเมินโครงการประจำปี 2559 ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานใน
โครงการ SMP ในปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่พบ ได้แก่ ความชัดเจนในระยะแรกของการการดำเนินงานโครงการ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างห้องปฏิบัติการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีขนาดและมาตรฐานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ การกำหนดรายการประกอบแบบ (BoQ) ที่สอดคล้องกับราคากลางหรือราคามาตรฐาน การขาดช่างฝีมือแรงงานในพื้นที่  นอกจากนั้น เรื่องเวลาที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม มีวันหยุดเรียนบ่อย เป็นต้น
     สำหรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ทางผู้แทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ได้ให้ความเห็นว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ เพราะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาครูผู้สอน และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือที่เกี่ยวข้อง  ส่วนทางผู้บริหารโรงเรียน ให้ข้อเสนอแนะว่า ทางสำนักงานการศึกษาเอกชนมีโครงการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดอยู่ ควรพิจารณาว่าสามารถทำร่วมกันกับโครงการ SMP ได้หรือไม่ จะได้เป็นการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะใน 6 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ SMP