ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โครงการ SMP ประจำโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ในภาคเรียนที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ได้เปิดการใช้บริการแล้ว ซึ่งในส่วนห้องปฏิบัติารมีความพร้อมในการบริการสำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือและสื่อต่างๆ ที่สนับสนุนในการเรียนการสอน
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา
โรงเรียนดำรงวิทยาได้เริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2560 โดยมีนักเรียนในโครงการ SMP จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 35 คน และรุ่นที่ 2 กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้มีการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งครู บุคลากร นักเรียน SMP และนักเรียนอื่น ๆ ไม่ว่าใช้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มีเครื่องมืออุปกรณ์เพียบพร้อม ทั้งเครื่องมือทางฟิสิกส์ เคมี ชีวิทยา และดาราศาสตร์ เช่น เครื่องวัด พีเอชมิเตอร์ เครื่องวัดค่าดีไอ เครื่องอบลมร้อน ชุดการทดลองเรื่อง ระบบเลนส์ เป็นต้น อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ได้รับสนับสนุนจากโครงการ SMP
วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ
ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ด้วยโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้จัดสรรงบประมาณ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ จัดกิจกรรม ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ณ ห้องประชุมเซอรา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๒๖๐ คนโดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์เอกภักดิ์ มีชัย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมค่ายกิจกรรม นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ฐิติรัตน์ นิลวิจิตร อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาฟิสิกส์ ผู้กล่าวรายงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมค่ายกิจกรรม โดยมีคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นทีมผู้ช่วยวิทยากร
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนเกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
๒. ลงมือฝึกปฏิบัติการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
กิจกรรมพัฒนาทักษะไอซีที : การใช้ Google App for Education เพื่อการเรียนรู้
โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 ของโครงการ โดยจัดค่ายไอซีทีแคมป์ มีวัตถุประสงค์พัฒนาทักษะการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ เน้นการใช้เครื่องมือ Google App for Education รองรับการทำงานยุคใหม่ในอนาคตของนักเรียน
กิจกรรมนี้ ได้รับความร่วมมือดำเนินการโดยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดเป็นไอซีทีแคมป์ จัดอบรมและทำกิจกรรม เน้นลงมือทำให้แก่นักเรียน โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 80 คน รวมประมาณ 240 คน อบรม 2 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 8-13 พฤษภาคม 2560 ณ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องปฏิบัติการสาขาคอมพิวเตอร์ ผลการประเมินการจัดกิจกรรมนี้ในปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ และสนับสนุนการทำโครงงาน (Project) ให้มีคุณภาพได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก
กิจกรรมนี้ ได้รับความร่วมมือดำเนินการโดยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดเป็นไอซีทีแคมป์ จัดอบรมและทำกิจกรรม เน้นลงมือทำให้แก่นักเรียน โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 80 คน รวมประมาณ 240 คน อบรม 2 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 8-13 พฤษภาคม 2560 ณ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องปฏิบัติการสาขาคอมพิวเตอร์ ผลการประเมินการจัดกิจกรรมนี้ในปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ และสนับสนุนการทำโครงงาน (Project) ให้มีคุณภาพได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
อบรมเชิงปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ ฮายีสาเมาะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร |
ระหว่างวันที่ ๒ - ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้จัดสรรงบประมาณ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ กิจกรรมที่ ๓ ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ให้แก่ครูในโครงการฯ SMP ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดลนาเซร์ ฮายีสาเมาะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ และแนวทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.สุนิตย์ โรจนสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้กล่าวรายงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ โดยมีคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาตร์ ร่วมเป็นวิทยากร พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นทีมผู้ช่วยวิทยากร
โดยมีวัตถุประสงค์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนทางด้านการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา รายละเอียด ดังนี้
สาขาฟิสิกส์ (โดยนางสาวมัสรีนา เจ๊ะมะ กับ นายอูเซ็ง ชายดานา)
สาขาฟิสิกส์ (โดยนางสาวมัสรีนา เจ๊ะมะ กับ นายอูเซ็ง ชายดานา)
๑. ความรู้ความเข้าใจฟิสิกส์พื้นฐาน
๒. การใช้เครื่องมือการวัด และเครื่องมือแรงและการเคลื่อนที่
๓. ปฏิบัติการ คลื่นนิ่งในเส้นเชือก
๔. ปฏิบัติการ หาความเร็วเสียงโดยวิธีการของคุนดต์
๕. ปฏิบัติการ การศึกษาคุณสมบัติของเลนส์
๖.ปฏิบัติการ การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
๕. ปฏิบัติการ การศึกษาคุณสมบัติของเลนส์
๖.ปฏิบัติการ การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
สาขาวิชาชีววิทยา (โดยนางสาวอำพร ท่าดะ กับ นางสาวลักขณา รักขพันธ์)
๑. ความรู้ความเข้าใจการใช้อุปกรณ์เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ
๒. ความรู้ความเข้าใจการใช้กล้องจลทรรศน์และการบำรุงรักษา
๓. ปฏิบัติการ การเตรียมสไสด์สด, การศึกษาเซลล์เนื้อเยื่อพืช
สาขาเคมี (โดยนางสาธิดา โพหะดา)
๑. ความรู้ความเข้าใจการใช้อุปกรณ์เครื่องแก้ว, การใช้ตู้ดูดควันและเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการ
๒. ปฏิบัติการ การตรวจวิเคราะห์ออกซิเจนในน้ำ โดยวิธี Azide Modificaion of Iodometric Method และ โดยวิธี Membrane Electrode
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ค่ายไอซีที...การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อย่างง่าย (ROBOT CAMP)
ด้วยโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science and Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมค่ายไอซีทีให้แก่นักเรียนโรงเรียนในเครือข่าย จำนวน ๒๖๐ คน เป็นนักเรียนใหม่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (นักเรียนชาย) และโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ
รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ เมษายน ๒๕๖๐ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา โรงเรียนดำรงวิทยา และโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (นักเรียนหญิง)
รุ่นที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา และโรงเรียนสมบูณร์ศาสน์
จัดกิจกรรม ค่ายไอซีที การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อย่างง่าย ROBOT CAMP จัดพิธีเปิดขึ้น ณ ลานไอซีที ชั้น 2 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษในเรื่องความสำคัญของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักเรียนและเยาวชนจะต้องร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามและพัฒนาพื้นที่ไปสู่สันติสุข การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสและอนาคตของนักเรียนในการยกระดับคุณภาพชีวิต
จัดกิจกรรม ค่ายไอซีที การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อย่างง่าย ROBOT CAMP จัดพิธีเปิดขึ้น ณ ลานไอซีที ชั้น 2 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษในเรื่องความสำคัญของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักเรียนและเยาวชนจะต้องร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามและพัฒนาพื้นที่ไปสู่สันติสุข การศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสและอนาคตของนักเรียนในการยกระดับคุณภาพชีวิต
นอกจากนั้น ยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.มูนีเร๊าะ ผดุง ประธานคณะทำงานจัดค่ายไอซีที และประธานหลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา ผู้จัดค่ายกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีคณาจารย์สาขาคอมพิวเตอร์ (โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) ร่วมเป็นวิทยากร พร้อมด้วยนักศึกษาชมรมคอมพิวเตอร์จิตอาสา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากหลักสูตรด้านไอซีที ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา เป็นทีมผู้ช่วยวิทยากรและพี่เลี้ยง
สำหรับเป้าหมายสำคัญของกิจกรรมค่ายไอซีทีให้แก่นักเรียนในโครงการ SMP ได้แก่ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร การสืบค้น การทำงานร่วมกันเป็นทีม การสร้างผลงานผ่าน Cloud Computing และการนำเสนอผลงาน เน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นความสำคัญของไอซีทีสำหรับการเรียนรู้ การปฏิบัติงานและการประกอบอาชีพในอนาคต และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนในการเลือกเรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่อไป สำหรับรายละเอียดกิจกรรมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
ชมคลิปกิจกรรมได้ที่ :https://drive.google.com/open?id=0B18Q0zzkx5xkbkpWdDlfS1NSbjA
วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560
อบรมเชิงปฏิบัติการ...ค่ายปรับพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา |
เมื่อวันที่ ๓ - ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ด้วยโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) อบรมเชิงปฏิบัติการค่ายปรับพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รุ่นที่ ๒ เพื่อพัฒนาความพร้อมและพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ก่อนเรียน ณ ห้องประชุมเซอรา ชั้น ๒ อาคารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายปรับพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้โอวาทและกล่าวต้อนรับนักเรียนใหม่ในโครงการ SMP รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๒ โดยมี คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เจ้าหน้าที่โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ (SMP) คุณครู และนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในจังหวัดยะลา เข้าร่วมโครงการนำร่อง จำนวน ๖ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา โรงเรียนมะอาหัดอิสลามมียะห์บาลอ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนดำรงวิทยา และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา กล่าวรายงานโดยอาจารย์ ปิยศิริ สุนทรนนท์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นผู้รับผิดชอบการอบรมฯ ในครั้งนี้
สำหรับการอบรมฯ ในครั้งนี้เป็นการอบรมฯ พัฒนาด้านวิชาการให้แก่นักเรียนรุ่นที่ ๒ โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ และมีประสบการณ์ในการจัดอบรมติวเข้มในแต่ลสาขาวิชา ดังนี้
อาจารย์ศุภานันท์ วงศ์กล้ากับอาจารย์อาดือนัน หะยีแยนา (คณิตศาสตร์)
อาจารย์สุดารัตน์ อินทร์น้อย (ฟิสิกส์)
อาจารย์ภูริวัฒน์ จิตตาภรณ์ (เคมี)
อาจารย์ ดร.สุพัตรา เทพณรงค์ (ชีววิทยา)
เพื่อเสริมความรู้ก่อนเรียนแก่นักเรียน จากทั้งหมด 6 โรงเรียนในเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า ๒๔๐ คน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)