ผศ.ดร.อับดุลนาเซร์ ฮายีสาเมาะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร |
ระหว่างวันที่ ๒ - ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้จัดสรรงบประมาณ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ กิจกรรมที่ ๓ ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ให้แก่ครูในโครงการฯ SMP ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดลนาเซร์ ฮายีสาเมาะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ และแนวทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.สุนิตย์ โรจนสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้กล่าวรายงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ โดยมีคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาตร์ ร่วมเป็นวิทยากร พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นทีมผู้ช่วยวิทยากร
โดยมีวัตถุประสงค์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนทางด้านการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา รายละเอียด ดังนี้
สาขาฟิสิกส์ (โดยนางสาวมัสรีนา เจ๊ะมะ กับ นายอูเซ็ง ชายดานา)
สาขาฟิสิกส์ (โดยนางสาวมัสรีนา เจ๊ะมะ กับ นายอูเซ็ง ชายดานา)
๑. ความรู้ความเข้าใจฟิสิกส์พื้นฐาน
๒. การใช้เครื่องมือการวัด และเครื่องมือแรงและการเคลื่อนที่
๓. ปฏิบัติการ คลื่นนิ่งในเส้นเชือก
๔. ปฏิบัติการ หาความเร็วเสียงโดยวิธีการของคุนดต์
๕. ปฏิบัติการ การศึกษาคุณสมบัติของเลนส์
๖.ปฏิบัติการ การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
๕. ปฏิบัติการ การศึกษาคุณสมบัติของเลนส์
๖.ปฏิบัติการ การสั่นพ้องของคลื่นเสียง
สาขาวิชาชีววิทยา (โดยนางสาวอำพร ท่าดะ กับ นางสาวลักขณา รักขพันธ์)
๑. ความรู้ความเข้าใจการใช้อุปกรณ์เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ
๒. ความรู้ความเข้าใจการใช้กล้องจลทรรศน์และการบำรุงรักษา
๓. ปฏิบัติการ การเตรียมสไสด์สด, การศึกษาเซลล์เนื้อเยื่อพืช
สาขาเคมี (โดยนางสาธิดา โพหะดา)
๑. ความรู้ความเข้าใจการใช้อุปกรณ์เครื่องแก้ว, การใช้ตู้ดูดควันและเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการ
๒. ปฏิบัติการ การตรวจวิเคราะห์ออกซิเจนในน้ำ โดยวิธี Azide Modificaion of Iodometric Method และ โดยวิธี Membrane Electrode
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น