วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
          ได้เริ่มใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการดำเนินงานการทำโครงงานให้กับนักเรียน ในโครงการ SMP โดยทุกๆวันพุธ ของสัปดาห์จะเป็นคาบชุมนุมโครงงานของนักรียน SMP ซึ่งนักเรียนจะใช้เวลานี้ในการทำกิจกรรมต่างๆของโครงงาน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ หรือการทำตัวเล่มรายงานโครงงาน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนและคุณครูที่ปรึกษาประจำวิชา มาให้คำปรึกษาและค่อยให้ความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งโครงงานส่วนใหญ่เป็นนำวัสดุท้องถิ่นใกล้ตัวที่หาได้ง่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชุมชน และสามารถสร้างกระบวนการคิดให้กับนักเรียนในการทำโครงงานครั้งนี้ด้วย
  
                                              การทำโคมไฟสมุนไพรไล่ยุง


 
                         การทำขึ้ผึ้งขัดรองเท้า


       และในคาบว่างของนักเรียน SMP ที่ไม่มีการเรียนการสอน ทางเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ก็จะนัดนักเรียนมาจัดทำกิจกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดทางวิทยาศาตร์และการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น
ซึ่งกิจกรรมที่จัดนั้นก็คือ การทำ Science Show  เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองและสามารถอธิบายกระบวนการว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร 




การทดลอง การจำลองภูเขาไฟระเบิด

      โดย ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำและทำกลุ่มล่ะ 1 การทดลอง ซึ่งจะให้นักเรียนออกแบบจำลองโดยการนำวัสดุง่ายๆมาทำ และให้นักเรียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร โดยแต่ล่ะกลุ่มจะได้หัวข้อไม่เหมือนกัน และให้ทุกกลุ่มมาแลกเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนๆฟัง




การทดลอง น้ำเปลี่ยนสี








วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

          โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ไมโทซิส (Mitosis) ของปลายรากหอม ทำการทดลองวันที่ 13-14 ธันวาคม 2559 ในช่วงเวลา 19.00 น.-21.30 น. การแบ่งกลุ่มละ 3-4 คน

สาธิตการเตรียมสไลด์สด

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ศึกษา

          1. สามารถเตรียมสไลด์สดสำหรับศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้
          2. สรุปและอธิบายการแบ่งเซลล์ไมโทซิสในแต่ละระยะได้

ผลการทดลอง
การแบ่งเซลล์ Mitosis ของปลายรากหอม
                       
                                 Metaphase
Telophase

                   ในการทดลองครั้งนี้ ขอขอบคุณ ดร.ศศิธร พังสุบรรณ ประธานหลักสูตรชีววิทยา และ นางสาวลักขณา รักขพันธ์ุ นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในการเตรียมตัวอย่าง การเตรียมสารคงสภาพตัวอย่างและการเตรียมสีย้อมเซลล์ โดยสกัดจากดอกธรรมชาติของดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น
การเตรียมตัวอย่างเซลล์ปลายรากหอม
อุปกรณ์แล็ปการแบ่งเซลล์
                          
                        การ Fix ตัวอย่างปลายรากหอม
การสกัดสีย้อมจากธรรมชาติ ดอกกระเจี๊ยบ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

          โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์ ทำการทดลองวันที่ 6-7 ธันวาคม 2559 ในช่วงเวลา 19.00 น.-21.30 น. การแบ่งกลุ่มละ 3-4 คน 
ชุดแต่งกายในห้องปฏิบัติการ (หญิง)
ชุดแต่งกายในห้องปฏิบัติการ (ชาย)
เนื้อหา
           เซลล์จะมีขนาด รูปร่างและหน้าที่ต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แต่ละเซลล์จะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐานบางอย่างเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ก็ตาม ส่วนประกอบพื้นฐานนั้น ได้แก่ สารเคลือบเซลล์ (cell coating) เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และโพรโทพลาสซึม (protoplasm)

บรรยากาศการเรียนการสอน

         สารเคลือบเซลล์ (cell coating) เคลือบอยู่ด้านนอกของเซลล์ จัดเป็นสารที่ไม่มีชีวิต ในพวกเห็ด รา จะมีสารเคลือบเซลล์เป็นพวกไคติน (chitin) ไดอะตอม มีสารเคลือบเซลล์เป็นพวกซิลิกา (silica) ในพืชมีสารเคลือบเซลล์หลายชนิด เช่น เซลลูโลส คิวติน ซูเบอริน เพกติน ลิกนิน สารอินทรีย์เหล่านี้ให้ความแข็งแรง ทนทาน ทำให้เซลล์พืชมีผนังเซลล์ ผนังเซลลืเป็นส่วนที่อยู่รอบนอของเซลล์ ทำหน้าที่ป้องกันและทำให้แข็งแรงต่อเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้




โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้     1. สามารถเตรียมสไลด์ชั่วคราวสำหรับการศึกษาเรื่องเซลล์ชนิดต่าง ๆ ได้
                                             2. ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์
                                             3. สรุปและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์ต่างชนิดได้
ผลการทดลอง
เซลล์เยื่อหอม
เซลล์สาหร่ายหางกระรอก

เซลล์คุม


จากสังเกตการทดลองของเด็กนักเรียนจะเห็นได้ว่า
     1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากทำการทดลอง
     2. นักเรียนสามารถอธิบายและเปรียบเทียบส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ได้ 

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทดลอง การหมุนเวียนเลือดของปลาหางนกยูง
จุดประสงค์การทดลอง
1.เพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมเพื่อศึกษาการหมุนเวียนเลือดของปลา หรือในโครงสร้างของสัตว์อื่นๆ ที่บางและใส จนสามารถสังเกตการหมุนเวียนของเลือด

2.เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกทิศทางการไหลของเลือดและความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของหลอดเลือดกับความเร็วการไหลของเลือด
วัสดุอุปกรณ์

1.ปลาหางนกยูง  2.สำลี  3.แผ่นสไลด์  4.กล้องจุลทรรศน์
วิธีการทดลอง
1.นำปลาหางนกยูงมาวางลงบนสไลด์ ใช้สำลีชุบน้ำพันรอบบริเวณส่วนหัว
2.นำสไลด์ไปตรวจดูใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ สังเกตแล้วบันทึกผล
ผลการทดลอง
เซลล์เม็ดเลือดจะเคลื่อนที่สวนทางกัน  บางหลอดเลือดเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหัวบางหลอดเลือดเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหาง การเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดในหลอดเลือดมีความเร็วไม่เท่ากัน เซลล์เม็ดเลือดที่เคลื่อนไปทางด้านหางเร็วกว่าไปทางด้านหัว

 







วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา


วันที่ 20 ธันวาคม2559 เวลา10.30 น.โรงเรียนดำรงวิทยา จัดกิจกรรมแข่งขัน"การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ "สำหรับนักเรียนในโครงการ SMP ของโรงเรียนดำรงวิทยา เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการเข้ามาร่วมแข่งขันและ แสดงผลงานอีกทั้งให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยการประกวดจัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา



 







ซึ่งการประกวดโครงงานมีกลุ่มที่เข้าส่งร่วมการแข่งขันทั้งหมด 7 กลุ่ม อาทิ
1.โครงงานเปรียบเทียบชากล้วยน้ำว้าและกล้วยหิน


2.โครงงานการศึกษาประสิทธภาพการป้องกันลูกน้ำยุงของสมุนไพรพื้นบ้าน

3.โครงงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมูลสัตว์จากการเจริญเติบโตของผักสลัด
4.โครงงานการสำรวจพืชสมุนไพรในหมู่บ้านวังหิน
5.โครงงานเปรียบเทียบคุณภาพของถ่านจากเศษไม้ในท้องถิ่น
6.โครงงานการตรวจสอบค่าpH และปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
7.โครงงานการเปรียบเทียบอัตราส่วนของถ่านในสบู่เหลวดับกลิ่นยางก้อนถ้วย
โดยการประกวดโครงงานครั้งนี้มีคณะกรรมการสามท่านเป็นผู้ตัดสินการประกวดโครงงาน


ซึ่งทางโรงเรียนมีความมุ่งหวังที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการได้มีเวทีประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานยิ่งขึ้น สำหรับผลการแข่งขันประกวดโครงงานจะประกาศให้รับทราบในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ พร้อมมอบเกียรติบัตรและของรางวัล

โครงการ SMP: การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้สู่ Thailand 4.0

      การดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (โปรแกรมวิทย์-คณิต) ให้กับโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษา นับเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายใน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประกอบด้วย คณาจารย์จากหลักสูตรคณิตศาสตร์  (ค.บ.5 ปี) วิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี) คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.5 ปี) เคมี (วท.บ.4 ปี) ฟิสิกส์ (วท.บ.4 ปี) ชีววิทยา (วท.บ.4 ปี) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.4 ปี) เทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.4 ปี) และบุคลากรจากศูนย์วิทยาศาสตร์  ร่วมกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 6 โรงเรียน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอที่ดูแลโรงเรียนในโครงการ ผนวกกับนโยบาย
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อวางฐานไปสู่การพัฒนาเป็น "สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทั้งระบบมุ่งไปสู่การสร้าง Teacher 4.0 และร่วมกับคณะครุศาสตร์ ผลิตบัณฑิตครูนักปฏิบัติการมืออาชีพ ใช้หอพักเป็นฐาน เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีคุณลักษณะและทักษะเหมาะสมกับบริบทจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยมหาวิทยาลัยฯ กำหนดเป็นโครงการยุทธศาสตร์มุ่งเป้า (Flagship Project) ไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569)

   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โครงการ SMP มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ใน 6 โรงเรียนเครือข่าย ทั้งการปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้ใช้การได้อย่างดี เหมาะสำหรับเป็นห้องปฏิบัติการ การจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จัดหาสื่อโสตทัศนปกรณ์ หนังสือ และการจัดหาวัสดุ สารเคมีสำหรับการทดลองแต่ละการทดลองตามหลักสูตร ที่สำคัญก็คือ การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบสอนในโครงการ SMP ให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐาน จัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์  นำเสนอโครงงานในกิจกรรมวิชาการ โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นโค้ช (Coach) จับคู่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และลงนิเทศก์ในพื้นที่โรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพครูในโครงการ SMP ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงโครงการ SMP ในปีต่อไปให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ปะแต  ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโครงการ SMP ได้มีการจัดการเรียนสอนในห้องปฏิบัติการแล้ว ซิ่งได้รับการอำนวยความสะดวกโดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ยังได้เปิดบริการให้กับครูผู้สอนที่สนใจที่ทำการการสอนในห้องปฏิบัติการด้วย
                                                   
 
              จากรูปการเรียนสอนในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรแจกไทล์  
 

การทดลองเรื่องการเกิดพลังงานความร้อน



คณะกรรมการและนักวิทยาศาสตร์โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์เข้าร่วมประชุม การจัดสรรงบประมาณปี60 ซึ่งในจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้จะมีการจัดสรรงบประมาณออกเป็นสองส่วน
 คือ 1. จัดสรรในด้านสื่อการเรียนการสอน
2. จัดสรรในด้านการสนุบสนุนโครงงาน 
ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมและครูเป็นอย่างดี





วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

             จากที่ทางโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP) ได้จัดสรรค์ สนับสนุนงบประมาณ จัดซื้อหนังสือเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ให้นักเรียนห้อง SMP ของโรงเรียนในเครือข่ายนั้น  
          โรงเรียนได้ดำเนินการ  โดยนำหนังสือทั้งหมดแยกออกเป็น หมวดหมู่ แล้วติดเลขรหัสของหนังสือทุกเล่มไว้ที่หน้าปกหนังสือ  เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้   โดยมีสมุดบันทึกการยืม - คืน หนังสือ ซึ้งนักเรียนสามารถมา ยืมหนังสือได้ทุกเล่มและเมื่ออ่านเสร็จแล้วให้ส่งกลับมาคืน โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ดูแลหนังสือทั้งหมด 
          โดยส่วนใหญ่นักเรียนจะสนใจหนังสือที่มีเนื้อหาตรงกับที่เรียนในห้องเรียน และช่วงเวลาที่นักเรียนมักจะมา ยืมหนังสือ ในช่วงพักและคาบกิจกรรม