วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ปฏิบัติการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ได้มีการใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนรายปฏิบัติการเคมี
เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับสารละลายของโลหะไอออน นักเรียนในโครงการ
SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์กอรีเย๊าะ มะนาฮา เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่ 1/2561
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science
Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ
SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่
1/2561 โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีผู้อำนวยการโรงเรียน
หัวหน้าโครงการ SMP ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่โครงการ
SMP ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย 9 โรงเรียน
ประจำปีงบประมาณ 2562 อาทิ เช่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสนับสนุนวัสดุการศึกษาให้แก่นักเรียนโครงการ
SMP ที่มีความสนใจเรียนคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ชี้แจงรูปแบบการจัดกิจกรรม
กำหนดวันในปฏิทินการดำเนินกิจกรรมของโครงการ SMP ประจำปี
พ.ศ. 2562 ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนเครือข่ายโครงการ
SMP และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะของโรงเรียนเครือข่าย
เพื่อให้โครงการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่โครงการวางไว้
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร
ปฏิบัติการเคมี
เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.40 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้มีการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง
การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/4 โดยมีนางสาวมาเรียม สาแลแม เป็นครูผู้สอนปฏิบัติการในครั้งนี้
เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำการทดลองภาคปฏิบัติรายวิชา เคมี เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต โดยมี อาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrates ) เป็นการที่ให้พลังงานและเป็นพลังงานสะสมในร่างกายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ สารชนิดอื่น เช่น จำพวกสเตอรอยด์ คาร์โบไฮเดรตที่พบในกระแสโลหิต ได้แก่ กลูโคส กาแลคโตส ฟรุกโตส และเพนโตส แต่เนื่องจาก นำ้ตาลกลูโคสมีอยู่ในโลหิตมากกว่าชนิดอื่นๆ เมื่อกล่าวถึงนำ้ตาลในเลือด จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึง กลูโคสในเลือด เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน
คณะวิทย์ มรย.แนะแนวหลักสูตร แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ทีมงานคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีคณะอาจารย์จากหลักสูตรต่าง
ๆ และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ได้ลงพื้นที่แนะแนวหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์
อาทิเช่น หลักสูตรฟิสิกส์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการธุรกิจสุขภาพ เกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
สอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดสอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561ณ โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนในแต่ละภาคการเรียน ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รายวิชาที่ใช้ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ วิชาชีววิทยา วิชาเคมี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 2 (05-108) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2561 และวางเงื่อนไขเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับการสนับสนุนวัสดุการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธี แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP
ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)