วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561

PASTI SCIENCE DAY 3rd Suttisart Wittaya School

ค่ายวันวิทยาศาสตร์ปาสตีครั้งที่ 3


 
          วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP ทางแผนกอนุบาลหรือปาสตี (PASTI) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้จัดฐานค่ายวันวิทยาศาสตร์ปาสตี ครั้งที่ 3 ภายใต้ สโลแกน "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์”         

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การวัดด้วยเครื่องวัดละเอียด

          ♦️ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนประทีปวิทยา มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาฟิสิกส์สำหรับ นักเรียนชั้น ม.4/1 ห้องเรียนพิเศษ SMP  เรื่อง การวัดอย่างวัดละเอียด โดยมี อาจารย์มูฮัมหมัดรุสดี  เจะเตะ อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนประทีปวิทยา เป็นผู้สอน


     ♦️ การวัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญทางฟิสิกส์ ปัจจุบันหน่วยการวัดมีหลายระบบแต่ระบบที่ใช้อย่างแพร่หลายได้แก่ระบบวัดระหว่างชาติ ที่เรียกว่า SI unit ในปฏิบัติการนี้จะเลือกศึกษาระบบ SI เท่านั้นในการวัดสิ่งของต่างๆ ต้องใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมกับวัตถุที่จะวัด ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทดลองนั้น จึงควรศึกษาการใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจ โดยการทดลองนี้จะใช้เครื่องมือวัด 3 ประเภท คือ 
                  1. เวอร์เนียร์แคลิปเปอร์ 
                  2. ไมโครมิเตอร์
                  3. เครื่องชั่ง 3 คาน
   

ปฎิบัติการชีววิทยา เรื่อง การไหลเวียนเลือดของมนุษย์และปลาหางนกยูง

วันที่ 2 สิงหาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทดลองศึกษาการไหลเวียนเลือดของมนุษย์จากหุ่นจำลองหัวใจ และการไหลเวียนเลือดของปลาหางนกยูงภายใต้กล้องจุลทรรศน์  โดยมี อ.ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน                       
ภาพ (ซ้่าย) การไหลเวียนเลือดของปลาหางนกยูง (กำลังขยาย 4X)      ภาพ (ขวา) หุุ่นจำลองหัวใจ

      จากการศึกษาทิศทางการไหลเวียนเลือดของปลาหางนกยูงภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า เซลลเม็ดเลือดจะเคลื่อนที่ส่วนทางกัน บางหลอดเลอดเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหัว บางหลอดเลือดเซลล์เม็ดเลือดเคลื่อนที่ไปทางหาง โดยเซลลเม็ดเลือดที่เคลือนไปทางด้านหางเร็วกว่าไปทางด้านหัว และเซลลเม็ดเลือดที่เคลือนไปในหลอดเลือดขนาดเล็กกว่าจะเคลอนที่ เร็วกว่า ส่วนการศึกษาการการไหลเวียนเลือดจากหุ่นจำลองหัวใจของมนุษย์ ทำให้นักเรียนทราบโครงสร้าง/หน้าที่ส่วนต่างๆ  และสามารถอธิบายระบบหมุ่นเวียนเลือดในมนุษย์ได้
ภาพประกอบการทดลอง

   โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ยินดีเปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์แก่นักเรียนในโรงเรียนทุกช่วงชั้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ ทางโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนในโรงเรียนจะมีเจตคติที่ดีและสนใจต่อการเรียนวิทยาศาตร์มากขึ้น ขอบคุณครับ.

ติตตามนิเทศการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)



        เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ภัทรพิชชา แก้วศรีขาว อาจารย์ประจำสาขาคณิตศาสตร์ อาจารย์ ดร.ดาริกา จาเอาะ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ นายฮูเซ็ง ชายดานา นักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาฟิสิกส์ อาจารย์จารุ นิคม อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ติตตามการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ณ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ พบปะผู้บริหาร ร่วมพุดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนรับฟังข้อเสนอแนะจาก นางสาวซากีย๊ะ อาบู ผู้อำนวยการโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นายมาหามะรอลี อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ และคณะครูผู้สอนประจำโรงเรียน จากนั้นได้นิเทศสังเกตการเรียนการสอน และพบปะพูดคุยกับนักเรียนในโครงการ SMP

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ และการใช้กล้องจุลทรรศน์


วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยาได้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4/1 (SMP)  วิชาชีววิทยา เรื่อง กล้องจุลทรรศน์และการใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยมี นางสาวซอปียะห์ มะบูมิ่ง อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วย

 
           กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการศึกษาทางด้านชีววิทยา ช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตหรือส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุขนาดเล็กนั้นได้ เนื่องจากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์มีราคาแพง ซึ่งถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทาให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรรู้จักวิธีการใช้และการดูแลเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์
วัตถุประสงค์
1.นักเรียนสามารถบอกชื่อและอธิบายการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง
2.นักเรียนสามารถเตรียมสไลด์สด wet mount
3.ศึกษาสิ่งมีชีวิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น เซลล์พืช เซลล์สัตว์ เป็นต้น
A = เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม  ฺB = เซลล์เยื่อหอมแดง C = สาหร่ายสไปรุไลนา

     จากการทดลองครั้งนี้ทำให้นักเรียนทราบวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างเซลล์สัตว์กับสัตว์พืช แยกองค์ประกอบของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น    เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ คลอโรพลาส และสามารถต่อยอดความรู้ไปใช้ในการเรียนต่อไป

พิธีเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

     
          วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 อาจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ณ โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิและโรงเรียนประทีปวิทยา โดยมี นางสาวอิบตีซาน เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา นายอาริฟ ดาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ คณะครูผู้สอนประจำโรงเรียน และคณะอาจารย์ประจำสาขาวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย
         ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับจัดสรรงบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ในแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ให้ดำเนินการโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือข่าย ทั้งหมด 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มีการขยายโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มอีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนประทีปวิทยาโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ และโรงเรียนคัมภีร์วิทยา ซึ่งโรงเรียนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของนักเรียนของนักเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงการ และสร้างความร่วมมือให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามที่โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห้องเรียนต้นแบบจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ติตตามการดำเนินงานของโครงการ SMP


        เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ภัทรพิชชา แก้วศรีขาว อาจารย์ประจำสาขาคณิตศาสตร์ อาจารย์ ดร.ดาริกา จาเอาะ อาจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ นายฮูเซ็ง ชายดานา นักวิทยาศาสตร์ประจำสาขาฟิสิกส์ อาจารย์จารุ นิคม อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ติตตามการดำเนินงานของโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ณ โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ พบปะผู้บริหาร ร่วมพุดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนรับฟังข้อเสนอแนะจาก นางสาวซากีย๊ะ อาบู ผู้อำนวยการโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นายมาหามะรอลี อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ และคณะครูผู้สอนประจำโรงเรียน จากนั้นได้นิเทศสังเกตการเรียนการสอน และพบปะพูดคุยกับนักเรียนในโครงการ SMP



ปฎิบัติการชีววิทยา เรื่องโครงสร้างภายในรากและลำต้นของพืช




        ในวันที่ 1 สิงหาคม 2561 เวลา 10.50 - 11.30 น.  ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยาจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียน ชั้น ม.5 เรื่อง โครงสร้างภายในรากและลำต้นของพืช โดยมีอาจารย์ อาแอเสาะ  เจ๊ะหวัน เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วยการปฏิบัติการทดลองให้แก่นักเรียน

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การวัดด้วยเครื่องวัดละเอียด



         วันที่ 29,30 กรกฏาคม 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP  โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียน ชั้น ม.4 เรื่อง 
การวัดด้วยเครื่องวัดละเอียด โดยมีอาจารย์ นูระมา กามะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และ
มีนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ช่วยการปฏิบัติการทดลองให้แก่นักเรียน






นักเรียน SMP ได้เข้าร่วมค่าย "ELIC camp 5" ณ ประเทศมาเลเซีย




เมื่อวันที่ ๒๓ – ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ นายยุสรีย์  ดือเร๊ะ นักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนดำรงวิทยา ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการค่ายภาษาอังกฤษและพัฒนาความเป็นผู้นำของกลุ่มนักศึกษาไทยตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ครั้งที่ ๕ (English and Leadership Intensive Camp 5 ) ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ มหาวิทยาไซน์มาเลเซีย (Universiti Sain Malaysia :USM ) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย