วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการทดลอง เรื่องการย่อยแป้ง


เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 15.00 – 16.30 น. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ได้มีการใช้งานเพื่อทดลอง เรื่อง การย่อยแป้ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นิฮามูนี นิกาจิ เป็นอาจารย์ผู้สอน และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลบปฏิบัติการ

วัตถุประสงค์
1.       นักเรียนสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายของแป้งได้
2.       นักเรียนสามารถเปรียบเทียบได้ว่าแป้งจากแหล่งใดให้กลูโคสมากน้อยกว่ากัน

แป้ง เป็นพอลิแซคคาไรด์ที่เกิดจากกลูโคสจำนวนหลายพันโมเลกุลมาต่อกัน มีโครงสร้างเป็นทั้งแบบสายยาวและกิ่งก้านสาขา แป้งมีมากในพืชประเภทเมล็ดและหัว เมื่อแป้งถูกความร้อนจะกลายเป็นเด็กซ์ตริน ซึ่งเป็นสารที่มีรสหวานเล็กน้อยและมีสมบัติเหนียวแบบกาว ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้อ้วนได้ และเป็นโรคติดแป้ง ซึ่งทำให้แก่เร็ว แป้ง เมื่อย่อยสลายจะได้พอลิแซ็กคาไรด์ที่มีขนาดเล็กลง
โครงสร้างของแป้งประกอบด้วยโพลีเมอร์ของกลูโคสสองชนิดคือ แอมิโลส ไม่แตกกิ่ง ต่อกันด้วย[[พันธะไกลโคซิดิกแบบ α14 พบประมาณร้อยละ 15 – 20 กับแอมิโลเพกทิน เป็นสายโพลีแซคคาไรค์ที่แตกกิ่ง โดยส่วนที่เป็นเส้นตรงต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ α14 และส่วนที่แตกกิ่งต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ (α16) พบประมาณร้อยละ 80 – 85 (wikipedia.org/wiki/แป้ง_(สารอาหาร))
วิธีการทดสอบ
1.       นำแป้งข้าวเจ้า(หรือแป้งอื่น ๆ ที่สนใจ) ทำให้สุกแล้วประมาณ 10 g แบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน ใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ 4 หลอด
2.       เติมน้ำกลั่นจำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองที่ 1 และ 3
3.       เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองที่ 2 และที่ 4
4.       คนสารในหลอดทั้ง 4 ให้ผสมเป็นเนื้อเดี่ยวกันตั้งไว้ประมาณ 10 นาที
5.       หยดไอโอดีน 2-3 หยด ลงในหลอดทดลองที่ 1 และที่ 2 เขย่าสังเกตและบันทึกผล
6.       เติมสารละลายเบเนดิกต์ จำนวน 2 cm3 ลงในหลอดทดลองที่ 3 และที่ 4 เขย่า แล้วนำไปอุ่นในน้ำร้อนเกือบเดือดประมาณ 3 นาที สังเกตและบันทึกผล
7.       อภิปราย วิเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอ




จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อแป้งทำปฏิกิริยากับไอโอดีน จะได้สารสีน้ำเงินหรือสีม่วงดำซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสมบัติเฉพาะตัวของแป้ง ดังนั้นจึงใช้ไอโอดีนเป็นสารทดสอบแป้งได้ แต่สารเบเนดิกต์ไม่ทำปฏิกิริยากับแป้งจึงไม่สามารถใช้ทดสอบแป้งได้
สารละลายกรดไฮโดรคลอริกย่อยแป้งเป็นกลูโคสได้เช่นเดี่ยวกับเอนไซม์ย่อยแป้งในร่างกาย และเมื่อกลูโคสทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์จะเกิดการเปลี่ยนสี แป้งที่มาจากแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่แตกต่างกัน เมื่อถูกย่อยแล้วจะให้ปริมาณกลูโคสที่แตกต่างกัน

1 ความคิดเห็น: