วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ปฏิบัติการเรื่อง แรงเสียดทาน


            เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม  2561 เวลา 13.30 - 14.45 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ  SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง แรงเสียดทาน โดยมีอาจารย์ อาซีหล๊ะ  ดอแมะ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ



วัตถุประสงค์
      1.เพื่อศึกษาแรงต่างๆ ที่กระทำบนผิวสัมผัสของวัตถุ
      2.เพื่อหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ



             แรงเสียดทาน  หมายถึง  แรงต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น  ซึ่งวัตถุที่เสียดสีกันอาจจะเกิดจากเสียดผิวระหว่างผิวของแข็งกับผิวของของแข็ง    ซึ่งเรียกว่าแรงเสียดทานแห้ง   หรือเกิดจากผิวของของแข็งเสียดสีกับผิวของของเหลว    ซึ่งเรียกว่า  แรงเสียดทานเปียก  แต่สำหรับในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแรงเสียดทานแห้งเท่านั้น
          ประเภทของแรงเสียดทาน   (Type of friction) 
                    ประเภทของแรงเสียดทาน  สามารถแบ่งตามลักษณะการเกิดแรงได้  ประเภท  คือ
                 1. แรงเสียดทานสถิตย์ (Static Friction)  หมายถึง  แรงเสียดทานที่เกิดข้นขณะที่วัตถุพยายามจะเคลื่อนที่  แรงเสียดทานสถิตย์จะมีค่าสูงสุดมักจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่
           2. แรงเสียดทานจลน์  (Kinetic Friction) หมายถึง แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะที่วัตถุการเคลื่อนที่  โดยทั่วไปแล้วแรงเสียดทานจลน์  จะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิตย์ประมาณ   25%

 ภาพประกอบการทดลอง







        จากการทดลองหาแรงเสียดทาน ทำให้นักเรียนสามารถคำนวนและเข้าใจการเกิดแรงเสียดทาน รวมถึงทราบปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อแรงเสียดทาน เช่น ลักษณะของผิวสัมผัส ถ้าผิวสัมผัสหยาบ ขรุขระจะเกิดแรงเสียดทานมาก และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น