วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง สร้างชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย




วันที่ 20 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง สร้างชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย โดยมีอาจารย์นิฮามูนี นิกาจิ เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ


วัตถุประสงค์
1. สร้างชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
2.  ฝึกปฏิบัติการบัดกรี

การบัดกรี (Soldering) หมายถึง การทำให้โลหะสองชนิดติดกันโดยการหลอมโลหะอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าโลหะทั้งสอง จนกลายเป็นของเหลวแทรกเข้าไปเกาะบริเวณรอยต่อของโลหะทั้งสอง เมื่อโลหะเหลวเย็นลงจะแข็งตัวและประสานโลหะทั้งสองให้ติดกัน โดยมีเครื่องมือหลักในการบัดกรีดังนี้ หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี  คีมตัดลวด และคัตเตอร์

วิธีการบัดกรี


โดยในวันนี้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย โดยศึกษาหลักการทำงานตัวเก็บประจุ (Capacitor)  ซึ่งหลักการทำงานของตัวเก็บประจุ คือความจุทางไฟฟ้าเกิดจากการป้อนแรงเคลื่อนให้กับขั้วทั้งสองของจุดที่ต่อใช้งานของสารตัวนำซึ่งจะทำให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นบนสารตัวนำที่เป็นแผ่นเพลทจะทำให้เกิดค่าความจุทางไฟฟ้าขึ้นลักษณะนี้เรียกว่า การเก็บประจุ (Charge) เมื่อต้องการนำไปใช้งานเรียกว่าการค่ายประจุ (Discharge) ประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบริเวณแผ่นเพลทมีหน่วยเป็นคูลอมป์ (Coulomb) ส่วนค่าความจุทางไฟฟ้ามีหน่วยเป็นฟารัด (Farad) การทดสอบคุณสมบัติของตัวเก็บประจุดังการทดลองข้างล่างนี้
วงจรการทำงานของตัวเก็บประจุ
วัสดุอุปกรณ์
ภาพประกอบจากการลงมือปฏิบัติ
และในวันนี้นักเรียนได้ผลงาน ชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเป็นการฝึกทักษะการบัดกรี และสามารถนำความรู้เรื่องนี้ต่อยอดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันบัดกรีซ่อมแซมอุปรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานได้เป็นอย่างดี
ผลงานของนักเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น