วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาโครงสร้างภายในใบ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่




      เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม  2561 เวลา 10.00– 11.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1  เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางชีววิทยา เรื่อง การศึกษาโครงสร้างภายในใบ ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่  โดยมีอาจารย์ซอปียะห์ มะบูมิ่ง เป็นผู้สอน

วัตถุประสงค์การทดลอง
1.บอกส่วนประกอบของโครงสร้างภายในใบได้
2.เปรียบเทียบโครงสร้างภายในพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวได้
3.สามารถทำการทดลองและสรุปผลการทดลองได้

   ใบพืชเป็นส่วนที่เจริญอยู่ข้างลำต้นมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์และอาจมีสารสีอื่นๆประกอบอยู่ด้วย เพื่อทำหน้าที่สร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและยังทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ

โครงสร้างภายในของใบจากนอกสุดไปในสุด มีดังนี้

         1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง บางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม
         2. มีโซฟิลล์ เป็นเนื้อเยื่อระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิส แบ่งเป็น ชั้น
            2.1 แพลิเซดมีโซฟิลล์ มักอยู่ด้านบน ภายในมีคลอโรพลาสต์มาก
            2.2 สปันจีมีโซฟิลล์ อยู่ถัดลงมาด้านล่างมีคลอโรพลาสต์น้อยกว่าชันบน
         3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอม เรียงติดกันที่เส้นใบ บางชนิดล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท

วัสดุอุปกรณ์

         1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดเชิงประกอบ
         2. ใบมีดโกน  เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ หลอดหยด
         3. ตัวอย่างใบพืช  พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : หญ้า ว่านสีทิศ หมาก เป็นต้น
                                   พืชใบเลี้ยงคู่ : หมอน้อย บานไม่รู้โรย เป็นต้น
โครงสร้างภายในใบ ของพืชใบเลี้ยงคู่ที่กำลังขยาย 100x
โครงสร้างภายในของใบ ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่กำลังขยาย100x





ภาพประกอบการทดลอง






       จากการที่นักเรียนได้ทดลองทำให้ทราบโครงสร้างและการเรียงตัวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ เช่น เอพิเดอร์มิส โฟลเอม ไซเลม เป็นต้น  และสามารถเปรียบเทียบโครงสร้างภายในใบ ของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวได้ ตลอดจนนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการศึกษาและทดลองทางชีววิทยาต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น