วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์

กิจกรรมงานมหกรรมวิชาการของโรงเรียน

   นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ smp ได้ร่วมแสดงผลงานได้งานมหกรรมของโรงเรียน โดยในบูธได้มีการจัดแสดงผลงานของนักเรียนและของครูผู้สอน โครงงาน ซายโชว์บนเวที





   จากกิจกรรมมหกรรมวิชาการเป็นเวทีที่นักเรียนแสดงผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการภายในโรงเรียน นำไปสู่การพัฒนาตัวเองเพิ่มศักยภาพทางวิชามากยิ่งขึ้น

ร่วมกิจกรรมนิทรรศการในงานมหกรรมมวิชาการจัดการศึกษาชายแดนใต้

   ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2560 นักเรียนชั้นม.5 ในโครงการ SMP โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ได้ร่วมนำผลงาน ตะบันน้ำ ไปจัดแสดงร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างดี



   จากกิจกรรมดังกล่าวเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในโครงการได้ไปแสดงผลงาน กล้าที่จะถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการสู่สาธารณชน นักเรียนเกิดความภาคภูมิในตัวเองและสถาบัน

กิจกรรมในห้องปฏิบัติการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์

   ห้องปฏิบัติการ SMP มีการใช้ในการเรียนการอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดให้บริการแก่นักเรียนในโครงการและนักเรียนทั่วไป ครูและนักเรียนที่เขาใช้บริการต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย





     สถิติการใช้ห้องปฏิบัติการ 10 ครั้งต่อสัปดาห์ นักเรียนสนุกกับการเรียนการสอน มีการรู้จักตั้งสมมุติฐานและการแก้ปัญหา นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป


วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิเข้าร่วม อบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการควบคุมคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

        เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2560 นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการควบคุมคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์วิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมทางศุนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้มามอบความรุ้เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน โดยได้เลือกโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิเป็นอีกหนึ่งในโรงเรียนที่ได้ไปจัดอบรม โดยมีอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ อาจารย์ประจำสาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามาให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนครั้งนี้ ซึ่งจะมีทั้งการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางชีววิทยาและทางเคมี
       ในการอบรมครั้งนี้นักเรียนได้ลงมือทำการปฏิบัติการทดลองการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยตนเอง โดยได้นำน้ำที่ใช้ในบริเวณโรงเรียนมาตรวจวิเคาระห์หาคุณภาพน้ำ เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ เป็นต้น ทำให้นักเรียนได้รับความรู้และตระหนักถึงความสะอาดและความปลอดภัยในการดื่มน้ำหรือการนำน้ำมาใช้ในกิจวัตรประจำวันด้วย

 



        ซึ่งในการอบรมครั้งนี้นักเรียนได้รับความรู้และมีความสนใจอย่างมากทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ซักล้างที่บ้าน เป็นต้น ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดในการทำโครงงานของนักเรียนบางกลุ่มอีกด้วย และในการจัดอบรมโครงการการควบคุมคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์วิทยาศาสตร์ครั้งนี้  ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิก็ได้เปิดให้ใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP ในการจัดอบรมครั้งนี้ด้วย


การจัดสรรงบประมาณและการดำเนินงานโรงเรียน SMP ในปีงบประมาณ 2561


ในวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://sirichai.yru.ac.th) ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภักยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ พร้อม ผู้ช่วยเกสรี ลัดเลีย และคุณมนตรี อุดมพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองนโยบายและแผน (http://president.yru.ac.th/plan) ให้เดินทางไปนำเสนอและสนับสนุนข้อมูลสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเสนอคำของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ณ อาคารรัฐสภา อาคาร 2 กรุงเทพมหานคร โดยส่วนราชการจะต้องเสนอของบประมาณนอกเหนือจากงบพื้นฐานเป็นโครงการภายใต้แผนบูรณาการ (http://www.bb.go.th/bbweb/?page_id=7045) ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้เสนอโครงการของบประมาณภายใต้งบบูรณาการ "แผนบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้"  อย่างต่อเนื่องมาตลอดมากกว่า 3 ปี โดยโครงการการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) เป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งของโครงการหลักของมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อโครงการคือ "การพัฒนาคุณภาพาสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้"
   ผลการนำเสนองบประมาณภายใต้ "แผนบูรณาการการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ต่อคณะอนุกรรมาธิการฝึกอบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าจ้างที่ปรึกษา (งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 โครงการ SMP ไม่มีข้อเสนอแนะให้ปรับแก้ใดๆ ซึ่งคาดว่าโครงการและงบประมาณที่เสนอดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 จะเป็นไปตามที่เสนอขอ ทั้งนี้ ต้องรอผลการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2561 ในวาระที่ 2,3 ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะประชุม 31 สิงหาคม 2560 และคาดว่าจะเรียบร้อยด้วยดี และผ่านเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 และประกาศใช้ต่อไป
   ดังนั้นในการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รับผิดชอบพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในเขตจังหวัดยะลา และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับผิดชอบสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาฯในจังหวัดปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รับผิดชอบสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาฯ ในจังหวัดนราธิวาส จะได้ดำเนินงานการอย่างต่อเนื่องต่อไป และสร้างความเข้มแข็งการบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สำนักงานการศึกษาเอกชน โรงเรียนในโครงการ นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อให้ห้องเรียน SMP ของโรงเรียนในโครงการได้รับพัฒนาจนสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป อีกทั้ง ห้องเรียน SMP จะเป็นโครงการสำคัญในการสนับสนุนการจัดตั้ง "สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" (http://pts.yru.ac.th) ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
   ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะยังคงพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4,5,6 ครูและผู้บริหาร ผู้ปกครองโรงเรียนเครือข่ายเดิม 6 โรงเรียน และเพิ่มกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนใหม่อีกจำนวน 3 โรงเรียน โดยรับนักเรียนรุ่นแรกของ 3 โรงเรียนใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 1 ห้อง ห้องละ 40 คน  สำหรับโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก จะประกาศแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รายงานผลปฏิบัติงานโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา


   สำรวจห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษา
   เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 เวลาประมาณ 10.30 น.ทางหน่วย ชป.รพศ.305 ได้ลงพื้นที่สำรวจห้องเรียนพิเศษของสถานศึกษา โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนดำรงวิทยา หัวหน้าโครงการ และนักวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการเป็นการอย่างดี พร้อมถ่ายภาพห้องเรียน และได้มีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ ตารางการใช้ห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นได้มีการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียน เกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงและความต้องการเพิ่มเติม สุดท้ายทางคณะหน่วย ชป.รพศ.305 ได้ชื่นชมการทำงานของโรงเรียนในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 



การเข้าร่วมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการ SMP ปีงบประมาณ 2560
      ระหว่างวันที่ 28 -29 กรกฎาคม 2560 โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2560 โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้รับใบอนุญาต ห้วหน้าโครงการ ตัวแทนครู นักเรียน ผู้ปกครอง และนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเข้าร่วมการสัมมนาประเมินควมสำเร็จและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  



















ประชุมเตรียมงานเข้าร่วมกิจกรรมมรย.วิชาการและงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
     เมื่อวันพุธ ที่ 2 สิงหาคม 2560 ได้มีการประชุมคณะกรรมการโครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา เพื่อร่วมกันวางแผนการเตรียมการจัดกิจกรรมในวันมรย.วิชาการและสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้มีการวางแผนจัดแสดงผลงานนักเรียน ผลงานครู และมีการสาธิตการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ผู้เข้าร่วมชม    และได้มีคัดเลือกนักเรียนเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในวันดังกล่าวหลากหลายกิจกรรม อาทิ เช่น การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  การแข่งขันโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วย  ARDUINO การแข่งขันตอบปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น

 การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

     จากการที่ทางโครงการ SMP ได้จัดสรรงบประมานให้แก่โรงเรียนในเครือข่าย เกี่ยวกับการจัดทำโครงงาน ให้แก่นักเรียนในแต่ละรุ่นนั้น ในภาคเรียนที่ผ่านมานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ได้ดำเนินการสืบเสาะและกำหนดปัญหา จนได้หัวข้อโครงงาน และได้ลงมือปกิบัติการตามวิธีการที่ได้ศึกษามา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาและนักวิทยาศาสตร์คอยให้คำปรึกษา แนะนำ และดูแล ตลอดการทำโครงงาน และคาดว่าในวันที่ 9 สิงหาคม 2560 จะมีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ภายในโรงเรียน เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดในงาน มรย.วิชาการ 60 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2560


















วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดสัมมนาปฏิบัติการ

ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2560 โครงการห้องเรียน SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมประชุมสัมมนาปฏิบัติการติดตามและประเมินผลโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ Science Mathematics Program: SMP ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 ณ โรงแรมการ์เด็นวิว อ.เบตง จ.ยะลา โดยมีคณะผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองจากโรงเรียนเครือข่าย 6 โรงเรียน รวมทั้งผู้บริหารและคณาจารย์กรรมการโครงการและเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำโครงการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งผู้แทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัดยะลา รวมจำนวน 60 คน ทั้งนี้ เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steakholder) กับโครงการ ทั้งนี้ โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีผู้กำกับโครงการให้เกียรติเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นประธานเปิดกิจกรรมและอยู่ร่วมกิจกรรมตลอดทั้ง 2 วัน
     กิจกรรมสำคัญที่ดำเนินการในช่วง 2 วันนี้ ได้แก่ การนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน การนำเสนอผลงานจากโครงการ SMP โดยนักเรียน การจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ของผู้เข้าร่วมสัมมนาแต่ละกลุ่ม และการประชุมเพื่อเตรียมดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
    จากการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละโรงเรียน และในภาพรวม สามารถสรุปสาระสำคัญและมีสไลด์ประกอบการนำเสนอของแต่ละโรงเรียนดังนี้

 

 

 

วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา e-learning ด้วยระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Moodle

                ตามที่โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยาได้เข้าร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการเครือข่ายการพัฒนาระบบการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย Moodle แก่โรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 และตัวแทนครูได้เข้าร่วมอบรมและพัฒนาระบบการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย Moodle เมื่อวันที่ 29 - 30 มิถุนายน 2560 มาแล้วนั้น 



             ในวันนี้ วันอังคารที่ 25 ก.ค 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ทางหมวดการงานอาชีพและเทคโนโลยีได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา e-learning ด้วยระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย Moodle โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดอบรมครั้งนี้ 
1.เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตบทเรียนโดยใช้โปรแกรม Moodle     
2.เพื่อให้ครูสามารถจัดระบบการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Moodle ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อให้ผู้อบรมสามารถสร้างบทเรียนโดยใช้ Moodle ได้

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ (สวทช.)



         โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมการสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรงให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2560 ซึ่งเป็นนักเรียนรุ่นที่ 2 ในโครงการความร่วมมือ ที่ดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัดยะลา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ ที่ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายผู้ปกครองในพื้นที่สำหรับโครงการนี้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่สำคัญคือ การสนับสนุนการดำเนินงานจากหลักสูตรต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://research.yru.ac.th/scicenter) ด้วยดีตลอดมา
          โดยค่ายวิทยาศาสตร์เสริมสร้างเจตคติ ทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศครั้งนี้ แบ่งนักเรียนออกเป็นจำนวน 2 รุ่น คน จะจัดขึ้น ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (http://nstda.or.th/sciencecamp/th/index.php) กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมค่ายรุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-13 กรกฎาคม 2560 เป็นนักเรียนชั้น ม.4 จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ โรงเรียนดำรงวิทยา และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ จำนวน 130 คน พร้อมนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ เดินทางไปร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-23 กรกฏาคม 2560 เป็นนักเรียนชั้น ม.4 จากโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นับเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนในพื้นทึ่จังหวัดชายแดนใต้ ที่จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์และการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีต่อไป



          สำหรับเป้าหมายของการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจ ความมั่นใจในตนเองของนักเรียนในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียน ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบประสบการณ์ตรงจากวิทยากร สถานที่เฉพาะทาง อุปกรณ์ที่ทันสมัย วิธีการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ประสบการณ์ที่ได้ นักเรียนจะต้องกลับมานำเสนอผลงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ใน Fanpage ของโครงการต่อไป