วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์

 


            เมื่อวันที่​ 30 กันยายน​ 2563 เวลา11.05-12.25 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์
อาแอเสาะ เจะหวันเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีวะวิทยา

วิธีใช้
       1. วางกล้องให้ฐานอยู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำกล้องตั้งตรง
       2. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) กำลังขยายต่ำสุดอยู่ตรงกับลำกล้อง
       3. ปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุให้แสงสะท้อนเข้าลำกล้องเต็มที่ โดยใช้ตามองผ่านเลนส์ใกล้ตาลงไป จะเห็นเป็นวงกลมสีขาวที่มีความสว่าง
       4. นำสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน แล้วค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (coarse adjustment knob) ให้ลำกล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุที่จะศึกษามากที่สุด โดยระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
       5. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) ลงตามลำกล้องพร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (coarse adjustment knob) ขึ้นช้าๆ จนมองเห็นวัตถุที่จะศึกษาแล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนปุ่มปรับภาพละเอียด (fine adjustment knob) เพื่อปรับภาพให้ชัด อาจเลื่อนสไลด์ไปมาช้าๆ เพื่อให้วัตถุที่ต้องการศึกษามาอยู่กลางแนวลำกล้อง ในการใช้กล้องบางรุ่น ขณะปรับภาพ ลำกล้องจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงเข้าหาวัตถุ แต่กล้องส่วนใหญ่ในปัจจุบันแท่นวางวัตถุจะเป็นส่วนที่เลื่อนขึ้นลงเข้าหาเลนส์ใกล้วัตถุ
       6. ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงขึ้น เข้ามาในแนวลำกล้อง โดยไม่ต้องขยับสไลด์อีก แล้วหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
       7. การปรับแสงที่เข้าในลำกล้องให้มากหรือน้อยให้หมุนปุ่มปรับไดอะแฟรม (diaphragm) ปรับแสงตามต้องการ

       กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันในโรงเรียนจะมีจำนวนเลนส์ใกล้วัตถุจำนวน 2 – 3 อัน และมีกำลังขยายต่างๆ กันไป อาจเป็นกำลังขยายต่ำสุด ×4 กำลังขยายขนาดกลาง ×10 กำลังขยายสูง ×40 หรือกำลังขยายสูงมากๆ ถึง ×100 ส่วนกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตานั้นโดยทั่วไปจะเป็น ×10 แต่ก็มีบางกล้องที่เป็น × 5 หรือ ×15
       กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์คำนวณได้จากผลคูณกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตาซึ่งมีกำกับไว้ที่เลนส์ เช่น ถ้าใช้เลนส์ใกล้วัตถุ ×10 และเลนส์ใกล้ตา ×10 กำลังขยาย เท่ากับ 10×10 เท่ากับ 100 เท่า

การดูแลรักษา
       หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์เสร็จ ใช้ผ้าที่สะอาดและแห้งเช็ดทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะ สำหรับส่วนที่เป็นเลนส์และกระจกทำความสะอาดโดยใช้กระจกเช็ดเลนส์เท่านั้น เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ตั้งฉากกับตัวกล้อง หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ในแนวลำกล้องแล้วเลื่อนให้อยู่ในระดับต่ำสุด ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้น ใช้ผ้าคลุมไว้เมื่อเลิกใช้งาน อย่าเก็บกล้องไว้ในที่ชื้นเพราะจะทำให้เลนส์ขึ้นรา


          ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนเข้าใจการทำงาน ส่วนประกอบการดูแลรักษาของกล้องจุลทรรศน์
ทำให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง  ช่วยในการมองเห็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าตาเราจะมองเห็น





1 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมากครับ คุณครูที่นำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

    ตอบลบ