วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมแนะแนวโครงการ SMP แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนดำรงวิทยา



เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 เวลา 10.30-12.00 น. ได้มีกิจกรรมแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science Mathematic Program : SMP ) โรงเรียนดำรงวิทยา ให้กับนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสและทางเลือกในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้มี นายอิสมาแอ ดือเร๊ะ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนดำรงวิทยา เปิดพิธี และมีหัวหน้าโครงการ นักวิทยาศาสตร์ และตัวแทนนักเรียน SMP ดำเนินการในกิจกรรมในครั้งนี้
จากการแนะแนวมีนักเรียนที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการ SMP เป็นจำนวนมาก โดยทางโรงเรียนจะมีการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2561 (ยกเว้นวันศุกร์-เสาร์) เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนดำรงวิทยา 

เกณฑ์การรับสมัคร
- นักเรียนที่กำลังศึกษาหรือจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
- มีเกรดเฉลี่ยวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีเกรดเฉลี่ย 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- มีโควตาให้กับนักเรียนเรียนดีโดยต้องมีเกรดเฉลี่ย 5 เทอม  3.50 ขึ้นไป
- มีภูมิลำเนาอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส )

หลักฐานการสมัคร
   -ใบรับรองเกรดเฉลี่ย ๕ เทอม จำนวน 1 ฉบับ
   -รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้วครึ่ง จำนวน ๓ รูป
   -สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน จำนวน  ๓ ฉบับ
   -สำเนาบัตรประชาชนนักเรียน จำนวน ๓ ฉบับ
   -สำเนาทะเบียนบ้านชองผู้ปกครองจำนวน ๓ ฉบับ
   -สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครองจำนวน ๓ ฉบับ
   -ใบรับรองวุฒทางศาสนา จำนวน 1 ฉบับ



วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

"พี่สอนน้อง" โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

"พี่สอนน้อง" โดยนักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา


              เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 นักเรียนในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้เข้าอาสาเข้าช่วยสอนในรายวิชา ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดสอบกรดและเบส ให้แก่เด็กนักเรียนชั้น ม.1/1 โดยเนื้อหาดังกล่าว เป็นเนื้อหาที่นักเรียน SMP เพิ่งได้เรียนมา ทำให้เด็กได้ประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่ นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เด็กได้บูรณาการกับเนื้อหาที่ได้เรียนมานำมาประยุกต์ใช้ จากที่เป็นผู้รับเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้ และยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กได้จดจำเนื้อหาผ่านการสอนผู้อื่น อีกทั้งเด็กได้ความกล้าแสดงออก และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แลปปฏิบัติการ เรื่อง ปริมาตรของอากาศในการหายใจออก

วัสดุอุปกรณ์

           1.  ขวดพลาสติกใสความจุ  5,000  ml   
              2.  บีกเกอร์ขนาด  500 ml     
              3.  ปากกาสำหรับทำเครื่องหมาย
              4.  สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  1  cm  ยาว  60  cm
              5.  กะละมังพลาสติกใส  สูง  10  cm


วิธีการทดลอง
            1.  ใช้บีกเกอร์ตวงน้ำใส่ขวดให้เต็ม  โดยทำเครื่องหมายทุกๆ  500  ml    ของน้ำที่เติม
            2.  เติมน้ำให้เต็มขวด  แล้วคว่ำลงในกะละมังที่มีน้ำสูง  5  cm  ดังรูป


             3.  นำปลายข้างหนึ่งของสายยางใส่ไว้ที่ปากขวด  ดังรูป  และให้เพื่อคนหนึ่งคอยจับขวดไว้
             4.  สูดลมหายใจเข้าปอดเต็มที่   แล้วเป่าลมหายใจออกให้มากที่สุดเพียงครั้งเดียวทางปลายสายยางอีกข้างหนึ่ง
             5.  สังเกตผลที่เกิดขึ้น  และวัดปริมาตรของลมหายใจออกที่ไปแทนที่น้ำในขวด
             6.  ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่  ข้อ 2-5  อีก 2 ครั้ง   และหาค่าเฉลี่ย


วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ปฏิบัติการเรื่อง โครงสร้่างภายในของใบ

          วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาโครงสร้่างภายในของใบ
2.เพื่อศึกษาไซเล็มและโฟลเอ็มในเส้นใบ

วัสดุอุปกรณ์

1. ใบไม้ชนิดต่างๆ เช่น โหระพา ผักหวาน เข็ม โมก ฟักทอง ตำลึง คะน้า มะกรูด ถั่ว กุหลาบ หางนกยูงไทย ข้าวโพด กล้วย ว่านกาบหอย บัวสาย
2. ใบมีดโกน
3. สีซาฟรานีนหรือน้ำยาอุทัยทิพย์ความเข้มข้น 1%
4. พู่กัน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ และหลอดหยด
5. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
6. กล้องจุลทรรศน์

วิธีการทดลองเลือก

1. เลือกใบพืชตัวอย่างมาจำนวน 2 ชนิด เป็นตัวแทนของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่างละ 1 ชนิด มาศึกษาโครงสร้างภายใน โดยปฏิบัติดังนี้
- ถ้าเป็นใบที่บาง ม้วนใบไม้ตามความยาวให้แน่นเป็นท่อนกลม ตัดปลายข้างหนึ่งทิ้งไปประมาณ 1/3 ของความยาวทั้งหมด
- ถ้าเป็นใบที่หนาและแข็ง เช่น ใบว่านกาบหอย ให้ตัดแบ่งแผ่นชิ้นเล็กๆ พอจับถือได้ถนัด เช่น ขนาด 1×3 cm
- ถ้าเป็นใบขนาดใหญ่ เช่น ใบกล้วย ตัดแบ่งแผ่นใบเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1×3 cm โดยให้มีเส้นใบอยู่ตรงกลางและขนานกับขอบของชิ้นที่ตัด
2. ใช้ใบมีดโกนคมๆ ตัดตามขวางใบที่ม้วนไว้หรือชิ้นของใบที่ตัดแบ่งไว้ให้ได้ชิ้นบางที่สุดเท่าที่จะบางได้ จำนวนหลายๆ ชิ้น
3. นำส่วนของใบที่ตัดได้หลายๆ ชิ้น ใส่ลงในจานเพาะเชื้อ ที่มีน้ำ เลือกชิ้นที่บางที่สุด 2-3 ชิ้นวางบนหยดน้ำสีบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ
4. นำสไลด์ที่เตรียม ได้ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้กำลังขยายต่างๆ









วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

   ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
      นักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมของเยาวชน ปี 6  ณ โรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับโครงงานของนักเรียน โดยนักเรียนได้ไปนำเสนอหัวข้อและได้รับเข้าประกวด หัวข้อที่นักเรียนได้ส่งเข้าประกวดคือ การทำแผ่นซับกลิ่นตัวอันไม่พี่งประสงค์ โดยผลิตจากน้ำมันสกัดจากใบฝรั่ง ซึ่งตอนนี้อยู่ในกระบวนการสกัดน้ำมันจากใบฝรั่ง เพื่อที่จะดำเนินขั้นตอนต่อไป ซึ่งได้ใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสกัดน้ำมันจากใบฝรั่ง โดยใช้กระบวนการสกัดด้วยวิธีการสกัดด้วยชุดกลั่นแบบลำดับส่วนและแบบธรรมดา

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา



ปฏิบัติการเรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้นักเรียนเข้าใจลักษณะการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
2.       เพื่อได้ทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันได้
วัสดุอุปกรณ์
1.       หลอดทดลองขนาดกลาง                4        หลอด
2.       ที่วางหลอดทดลอง                       1        อัน
3.       หลอดหยด                                1        อัน
4.       ช้อนตักสารเบอร์ 1                      2        อัน
5.       กระบอกตวงขนาด 5 ml                1        กระบอก
สารเคมี
1.       โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเน็ต
2.       กรอดไฮโดรคลอริก
3.       เลด (II) ไนเตรต
4.       โพแทสเซียมไอโอไดด์
5.       น้ำส้มสายชู
6.       ผงฟู
7.       เกล็ดของกรดซิตริก
8.       ด่างทับทิมเจือจาง

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP


        วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ แจ้งให้ทราบ ถึงทิศทางการดำเนินงานโครงการ SMP นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำผู้บริหาร คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP แจ้งถึงกำหนดการกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการแจ้งถึงการปรับกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและโรงเรียนในโครงการตามข้อเสนอแนะจากสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของโครงการ SMP และการเสนอมาตรการในการวัดระดับนักเรียนในโครงการ SMP โดยให้มีผลคะแนนอิงเกรด 20% จาก 80% ของเกรดในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้มาตรการ 20:80 ของคะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของโครงการ SMP  และได้มีการแบ่งกลุ่มในภาควิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่อหารือถึงเรื่องกิจกรรมการบริการ วิชาการและการนิเทศ รวมถึงยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางการแก้ไขปัญหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นร่วมกันระหว่างโครงการ SMP กับโรงเรียนในเครือข่าย