วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แนะแนวโครงการ SMP

              โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้ประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยศาสตร์ คณิตศาสตร์(SMP) หลายรูปแบบ เช่น การแนะแนวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ใบปลิวประชาสัมพันธ์  เสียงตามสาย พูดประชาสัมพันธ์หน้าแถว เพื่อให้นักเรียนและผู้ที่มีความสนใจได้รับทราบ

               เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2559  ณ  ห้องประชุมลุตฟีย์  อาคารลุตฟีย์  โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา
ได้มีการจัดแนะแนว  ประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยศาสตร์  คณิตศาสตร์(SMP)  ให้กับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ของโรงเรียน  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 4  โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนและอาจารย์ผู้สอนห้อง(SMP)  เป็นผู้แนะแนว  อธิบายความเป็นมา  ลายละเอียดและกิจกรรมต่างๆของโครงการ พร้อมแจกใบปลิวประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการ   ส่วนใบปลิวประชาสัมพันธ์โครงการ  จะติดตามสถานที่ตามๆ และแจกให้นักเรียนช่วยประชาสัมพันธ์  เป็นกระบอกเสียงให้กับโรงเรียนอีกด้วย

ปลิวประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยศาสตร์  คณิตศาสตร์(SMP)  ในบริเวณโรงเรียน



อาจารย์ผู้สอนห้อง(SMP)  แนะแนวโครงการให้กับนักเรียน

เจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์โครงการ(SMP)  แนะแนวโครงการให้กับนักเรียน


วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คณะกรรมการ SMP จาก มรย. ติดตามนิเทศผลการดำเนินงานในพื้นที่โรงเรียนเครือข่าย

ประชุมติดตามโรงเรียนสุทธิศาสตร์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP) โรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดยะลา นำโดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อาจารย์ ดร.อิสมาแอ เจ๊ะหลง  และอาจารย์นุชนารถ เต็มดี พร้อมด้วยเจ้าหน้าทีประจำโครงการ SMP ลงพื้นที่โรงเรียนสุทธิศาสตร์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต  โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา และโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน  เพื่อติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ การจัดระบบการบริการห้องปฏิบัติการ และการใช้งานห้องปฏิบัติการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การจัดทำโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการทดลองและการลงมือปฏิบัติโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) ร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีม (Team-based Learning) ทั้งนี้ ให้เน้นการใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นโจทย์ เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมทั้งเน้นการสร้างความภาคภูมิใจในผลงานของผู้เรียน
ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา
   จากผลการประชุมติดตามนิเทศร่วมกันระหว่างคณะกรรมการอาจารย์นิเทศจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน พบว่านักเรียนรุ่นแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 มีพัฒนาการในทิศทางที่ดี ทั้งด้านเจตคติ ความรู้และทักษะการทดลองในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ เกิดจากการจัดเตรียมห้องปฏิบัติการ วัสดุและสารเคมีการทดลอง การพัฒนาครูผู้สอนให้มีทักษะการทดลองอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณที่ผ่านมา ขณะนี้ นักเรียนในโครงการเริ่มจัดทำโครงงานเพื่อร่วมนำเสนอผลงานในงานวิชาการระดับโรงเรียน และเตรียมคัดเลือกผลงานร่วมประกวดในงานวิชาการระดับจังหวัด เขตการศึกษา และนำเสนอในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป
ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ อ.รามัน จ.ยะลา
   ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ความพร้อมของครูผู้สอนในการใช้ครุภัณฑ์  เครื่องมือทดลอง การทำการทดลองบางการทดลอง การให้คำแนะนำการทำโครงงาน การจัดทำเอกสารรายงานโครงงาน ที่ยังขาดความเชี่ยวชาญ จึงมีความเห็นร่วมกันจะทำการสำรวจความต้องการของครูผู้สอน และจัดอบรมปฏิบัติการกลุ่มย่อยให้ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต้นแบบ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาต่อไป




วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา

วันที่  25 ธันวาคม 2559 นักเรียนโครงการ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้นำเสื้อกาวน์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์(SMP) เพื่อเป็นวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนวิชาศิลปะ ในหัวข้อเรื่องการสกรีน
สอนโดยอาจารย์ตวนโซะ ปะนาวา อาจารย์กลุ่มสาระศิลปะ ซึ่งให้นักเรียนทุกคนได้สกรีนเสื้อกาวน์ คนละ 1 ตัว โดยสกรีนตราโลโก้ของโรงเรียน ที่กระเป๋าด้านซ้ายของเสื้อกาวน์


          นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนวิชาศิลปะ ในหัวข้อเรื่องการสกรีน ชอบเพราะว่าได้ปฏิบัติจริง  เป็นผลงานที่นักเรียนได้ทำเองและได้เสื้อกาวน์ไปใช้เรียนเองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ซึ่งเสื้อกาวน์สวยขึ้นกว่าเดิม 








วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา

โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา
          ได้เริ่มใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการดำเนินงานการทำโครงงานให้กับนักเรียน ในโครงการ SMP โดยทุกๆวันพุธ ของสัปดาห์จะเป็นคาบชุมนุมโครงงานของนักรียน SMP ซึ่งนักเรียนจะใช้เวลานี้ในการทำกิจกรรมต่างๆของโครงงาน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ หรือการทำตัวเล่มรายงานโครงงาน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนและคุณครูที่ปรึกษาประจำวิชา มาให้คำปรึกษาและค่อยให้ความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งโครงงานส่วนใหญ่เป็นนำวัสดุท้องถิ่นใกล้ตัวที่หาได้ง่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชุมชน และสามารถสร้างกระบวนการคิดให้กับนักเรียนในการทำโครงงานครั้งนี้ด้วย
  
                                              การทำโคมไฟสมุนไพรไล่ยุง


 
                         การทำขึ้ผึ้งขัดรองเท้า


       และในคาบว่างของนักเรียน SMP ที่ไม่มีการเรียนการสอน ทางเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ก็จะนัดนักเรียนมาจัดทำกิจกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิดทางวิทยาศาตร์และการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น
ซึ่งกิจกรรมที่จัดนั้นก็คือ การทำ Science Show  เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองและสามารถอธิบายกระบวนการว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร 




การทดลอง การจำลองภูเขาไฟระเบิด

      โดย ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำและทำกลุ่มล่ะ 1 การทดลอง ซึ่งจะให้นักเรียนออกแบบจำลองโดยการนำวัสดุง่ายๆมาทำ และให้นักเรียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร โดยแต่ล่ะกลุ่มจะได้หัวข้อไม่เหมือนกัน และให้ทุกกลุ่มมาแลกเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนๆฟัง




การทดลอง น้ำเปลี่ยนสี








วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

          โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ไมโทซิส (Mitosis) ของปลายรากหอม ทำการทดลองวันที่ 13-14 ธันวาคม 2559 ในช่วงเวลา 19.00 น.-21.30 น. การแบ่งกลุ่มละ 3-4 คน

สาธิตการเตรียมสไลด์สด

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ศึกษา

          1. สามารถเตรียมสไลด์สดสำหรับศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้
          2. สรุปและอธิบายการแบ่งเซลล์ไมโทซิสในแต่ละระยะได้

ผลการทดลอง
การแบ่งเซลล์ Mitosis ของปลายรากหอม
                       
                                 Metaphase
Telophase

                   ในการทดลองครั้งนี้ ขอขอบคุณ ดร.ศศิธร พังสุบรรณ ประธานหลักสูตรชีววิทยา และ นางสาวลักขณา รักขพันธ์ุ นักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ในการเตรียมตัวอย่าง การเตรียมสารคงสภาพตัวอย่างและการเตรียมสีย้อมเซลล์ โดยสกัดจากดอกธรรมชาติของดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น
การเตรียมตัวอย่างเซลล์ปลายรากหอม
อุปกรณ์แล็ปการแบ่งเซลล์
                          
                        การ Fix ตัวอย่างปลายรากหอม
การสกัดสีย้อมจากธรรมชาติ ดอกกระเจี๊ยบ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

          โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์ ทำการทดลองวันที่ 6-7 ธันวาคม 2559 ในช่วงเวลา 19.00 น.-21.30 น. การแบ่งกลุ่มละ 3-4 คน 
ชุดแต่งกายในห้องปฏิบัติการ (หญิง)
ชุดแต่งกายในห้องปฏิบัติการ (ชาย)
เนื้อหา
           เซลล์จะมีขนาด รูปร่างและหน้าที่ต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แต่ละเซลล์จะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐานบางอย่างเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ก็ตาม ส่วนประกอบพื้นฐานนั้น ได้แก่ สารเคลือบเซลล์ (cell coating) เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) และโพรโทพลาสซึม (protoplasm)

บรรยากาศการเรียนการสอน

         สารเคลือบเซลล์ (cell coating) เคลือบอยู่ด้านนอกของเซลล์ จัดเป็นสารที่ไม่มีชีวิต ในพวกเห็ด รา จะมีสารเคลือบเซลล์เป็นพวกไคติน (chitin) ไดอะตอม มีสารเคลือบเซลล์เป็นพวกซิลิกา (silica) ในพืชมีสารเคลือบเซลล์หลายชนิด เช่น เซลลูโลส คิวติน ซูเบอริน เพกติน ลิกนิน สารอินทรีย์เหล่านี้ให้ความแข็งแรง ทนทาน ทำให้เซลล์พืชมีผนังเซลล์ ผนังเซลลืเป็นส่วนที่อยู่รอบนอของเซลล์ ทำหน้าที่ป้องกันและทำให้แข็งแรงต่อเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้




โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้     1. สามารถเตรียมสไลด์ชั่วคราวสำหรับการศึกษาเรื่องเซลล์ชนิดต่าง ๆ ได้
                                             2. ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์
                                             3. สรุปและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์ต่างชนิดได้
ผลการทดลอง
เซลล์เยื่อหอม
เซลล์สาหร่ายหางกระรอก

เซลล์คุม


จากสังเกตการทดลองของเด็กนักเรียนจะเห็นได้ว่า
     1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากทำการทดลอง
     2. นักเรียนสามารถอธิบายและเปรียบเทียบส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ได้