วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ปฏิบัติการเรียนการสอนเรื่อง การระเหยแห้ง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา


        วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.30 – 15.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การระเหยแห้ง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์การทดลองในครั้งนี้

วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่าย (โมเมนต์ของแรงคู่ควบ)


     วันที่ 9 กรกฎาคม 256ุ6 เวลา 14.30 - 16.00. น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่าย (โมเมนต์ของแรงคู่ควบ) ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นายีบะห์ ลือแบซา เป็นอาจารย์สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการทำแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและเรียนรู้ทักษะการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อพัฒนาผลิตไฟฟ้า ณ บริษัท ยะลากรีนเอ็นเนอยี่ จำกัด (โรงไฟฟ้ายะลากรีน) จังหวัดยะลา


             วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 นักเรียนในโครงการ SMP-YRU โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พร้อมคณะครู ได้เข้าร่วม กิจกรรมศึกษาดูงานและเรียนรู้ทักษะการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อพัฒนาผลิตไฟฟ้า ณ บริษัท ยะลากรีนเอ็นเนอยี่ จำกัด (โรงไฟฟ้ายะลากรีน) จังหวัดยะลา จัดโดยสมาคมนักวิจัยชายแดนใต้ เพื่อเปิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและเพิ่มโอกาศในการพัฒนาองค์ความรู้ของนักเรียน เพื่อต่อยอดในการเรียนและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

โรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเสริมทักษะความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จังหวัดปทุมธานี


        วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP - YRU) ประกอบด้วยโรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเสริมทักษะความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 ในโครงการ SMP-YRU จำนวน 80 คน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจ ความมั่นใจในตนเองของนักเรียนในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียน ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบประสบการณ์ตรงจากวิทยากร สถานที่เฉพาะทาง อุปกรณ์ที่ทันสมัย และวิธีการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จังหวัดปทุมธานี

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

โรงเรียนในเครือข่าย SMP-YRU จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเสริมทักษะความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร


         เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 โรงเรียนในเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP-YRU) ประกอบด้วยโรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเสริมทักษะความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ในโครงการ SMP-YRU จำนวน 80 คน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจ ความมั่นใจในตนเองของนักเรียนในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียน ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบประสบการณ์ตรงจากวิทยากร สถานที่เฉพาะทาง อุปกรณ์ที่ทันสมัย และวิธีการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ณ พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ให้โอวาทและกำลังใจนักเรียนในโครงการ SMP-YRU เดินทางไปทัศนศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร

            วันที่ 04 กรกฏาคม 2566 เวลา 07.45 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยอาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด และคุณครูจากโรงเรียนเครือข่าย ให้โอวาทและกำลังใจนักเรียนในโครงการ SMP-YRU เดินทางไปทัศนศึกษา ระหว่างวันที่ 4-8 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จำนวน 80 คน จากโรงเรียนเครือข่าย ประกอบด้วยโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา โรงเรียนดำรงวิทยา โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ และโรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจ ความมั่นใจในตนเองของนักเรียนในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียน ที่สำคัญเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบประสบการณ์ตรงจากวิทยากร สถานที่เฉพาะทาง อุปกรณ์ที่ทันสมัย วิธีการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ประสบการณ์ที่ได้ นักเรียนจะต้องกลับมานำเสนอผลงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ใน Fanpage ของโครงการต่อไป

วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566

โครงการ SMP-YRU นำเสนอผลงานบริการวิชาการ เพื่อขอรับรางวัลบริการวิชาการดีเด่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566

             วันจันทร์ ที่ 12 มิถุนายน 2566 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย อาจารย์ฐิติรัตน์ นิลวิจิตร และนายไฮดี แวเด็ง เป็นผู้แทนคณะกรรมการโครงการ SMP-YRU เข้าร่วมประชุมนำเสนอผลงานบริการวิชาการ เพื่อขอรับรางวัลบริการวิชาการดีเด่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 ต่อผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ลิลลา อดุลยศาสตร์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและคุณภาพบัณทิต เป็นประธานในการนำเสนอผลงานในวันนี้ ได้นำเสนอผลการการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2565 มีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 15 โรงเรียน ซึ่งมีผล  กระทบสร้างโอกาสทางการศึกษา ลดช่องว่าทางการศึกษา และการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวนกว่า 2,864 คน พร้อมกับสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และสมาชิกชุมชนรอบโรงเรียน




            
            ในการนำเสนอผลการดำเนินงานครั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีผลผลิตและผลลัพธ์เชิงประจักษ์ โดยได้รับการสนับสนุนดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ร่วมกับสำนักงานการศึกษาเอกชนในพื้นที่