คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrates ) เป็นการที่ให้พลังงานและเป็นพลังงานสะสมในร่างกายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ สารชนิดอื่น เช่น จำพวกสเตอรอยด์ คาร์โบไฮเดรตที่พบในกระแสโลหิต ได้แก่ กลูโคส กาแลคโตส ฟรุกโตส และเพนโตส แต่เนื่องจาก นำ้ตาลกลูโคสมีอยู่ในโลหิตมากกว่าชนิดอื่นๆ เมื่อกล่าวถึงนำ้ตาลในเลือด จึงเป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึง กลูโคสในเลือด เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวาน
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เข้ามาใช้บริการ เพื่อทำการทดลองภาคปฏิบัติรายวิชา เคมี เรื่อง การทดสอบคาร์โบไฮเดรต โดยมี อาจารย์ วนิดา เหาะแอ เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี
คณะวิทย์ มรย.แนะแนวหลักสูตร แนวทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา
ทีมงานคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีคณะอาจารย์จากหลักสูตรต่าง
ๆ และบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ได้ลงพื้นที่แนะแนวหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในหลักสูตรต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์
อาทิเช่น หลักสูตรฟิสิกส์ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการธุรกิจสุขภาพ เกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
สอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ระหว่างวันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2561 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดสอบวัดระดับผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561ณ โรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนในแต่ละภาคการเรียน ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รายวิชาที่ใช้ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ วิชาชีววิทยา วิชาเคมี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 2 (05-108) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินกิจกรรมแนะแนวและวัสดุการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในท้องถิ่น โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประธานหลักสูตร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เพื่อวางแผนรูปแบบกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2561 และวางเงื่อนไขเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับการสนับสนุนวัสดุการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ฝึกทักษะการใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธี แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดำรงวิทยา
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนรู้วิชา WBI บูรณาการกับการผลิตสื่ออีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) โครงการ SMP
ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน SMP คือ การสอนปฏิบัติการ (Lab) วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สามารถสอนปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน เวลาการสอนปฏิบัติการมีไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดทักษะสอนปฏิบัติการ ขาดความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ ไม่เข้าใจขั้นตอนการทดลอง รวมทั้งการสรุปผลการทดลอง จึงทำให้บางรายวิชาไม่สามารถทำการทดลองปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วน
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
โครงการ SMP จึงทดลองนำร่อง จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนขั้นตอนการทดลองในรายวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่สอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เน้นให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหาการสอนปฏิบัติวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้ผู้สอนได้ใช้เรียนรู้และทบทวน และผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าที่บ้าน และลงมือทดลองในห้องปฏิบัติการ
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่พัฒนาขึ้นเป็นต้นแบบนี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนในโครงการ SMP หรือโรงเรียนที่สนใจได้นำไปใช้ แนวคิดหลักๆ ในบทเรียนคือ การสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง เนื้อหานำเสนอทั้งข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) วิดีโอ (Video) และมีกิจกรรมแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม รวมทั้งแบบสรุปผลการทดลอง โดยการเผยแพร่บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถเผยแพร่ในรูปแบบเว็บไซต์ และเผยแพร่หรือนำไปใช้กับระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ประเภท LMS (Learning Management System) เช่น Moodle เป็นต้น
หากผลการประเมินต้นแบบ เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ SMP ก็จะดำเนินการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนปฏิบัติการ (Lab) ให้ครบทุกรายวิชาหรือทุกระดับชั้นต่อไป
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 13.40 – 15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 26 คน ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลอง เรื่อง การแยกสารจากส่วนต่างๆ ของพืช โดยมี อาจารย์อับดุลเลาะ ลีลาตานา เป็นผู้สอนและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)