แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 2564 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 2564 แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

          เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.30 - 16.30 น.  ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการถ่ายทำวิดีโอการทดลองปฏิบัติการ เรื่อง การทดลองหาจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ SMP YRU อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน ในครั้งนี้ด้วย 

          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ่ายทำวิดีโอการทดลองบทปฏิบัติการเคมี ม.4 ภาคเรียนที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลอร์นิ่ง

         ด้วยโครงการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้วิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเวลาเรียนและทำการทดลองไม่เพียงพอในชั้นเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อสร้างทักษะปฏิบัติการทดลองจากการเรียนรู้ด้วยสื่อคลิปวีดิทัศน์สาธิตขั้นตอนการทดลองและทำกิจกรรมในสภาพแวดล้อมของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับชั้นเรียนปกติ (Face-to-Face) ในห้องปฏิบัติการทดลอง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี


          โดยบทปฏิบัติการนี้ได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายร่วมกันพัฒนาการสื่อการเรียนเรียนการสอน เรื่อง การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียมฟอสเฟตกับแบเรียมคลอไรด์ ในครั้งนี้ด้วย
 

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดส์ของโลหะและไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดส์ของโลหะและไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


            วันที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ระหว่างโลหะกับไอออนของโลหะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU


         เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 14.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมกลาดี ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ (อาคาร 20) โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ SMP YRU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP YRU ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายละเอียด ดังนี้

    แนวทางการดำเนินงานโครงการ SMP YRU 

            - ติดตามการปรับปรุงซ่อมแซมห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 โรงเรียน

            - การลงพื้นที่ติดตามนิเทศผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนของโรงเรียนเครือข่าย พร้อมแผนพัฒนาครูและนักเรียนในโครงการ SMP YRU

            - รายงานผลการวิจัย โครงการ SMP YRU เพื่อส่งเข้าประกวดประเภทรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม)

            - การทดลองใช้บทเรียน E-learning (บทปฏิบัติการเคมี ม.4)

            - การขยายผลและการพัฒนาเว็บไซต์ให้แก่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 12 โรงเรียน

            - โครงการวิจัยพัฒนาบทเรียน จำนวน 3 โครงการ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

ความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 19 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวนูรีดา เจ๊ะเงาะ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ทำการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โดยให้นักเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง เป็นรูปแบบเกมส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้และเกิดความสนุกสนานในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

         วันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 08.45– 10.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่องการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำและสารละลายผสมระหว่างกรดแอซีติกและโซเดียมแอซีเตต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564

ห้องเรียนอีเลิร์นนิ่ง http://e-smp.yru.ac.th สำหรับเรียนรู้ในสถานการณ์ COVID-19

 

เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th

          โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ SMP-YRU มีการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในโครงการทั้ง 12 โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 จนถึงปัจจุบัน  ในโครงการดังกล่าวมีการพัฒนานักเรียนในระดับชั้น ม.4 - ม.6 ในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุการทดลอง การพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการและทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 หรือ Soft Skill การพัฒนาทักษะการทำโครงงาน การจัดค่ายพัฒนาด้านไอที  ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และค่ายปรับพื้นฐาน ค่ายสอนเสริมเพื่อความเป็นเลิศ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

      สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) ได้รับงบประมาณดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะให้นักเรียนหลายกิจกรรม แต่ด้วยการระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  จึงไม่สามารถดำเนินงานตามปกติได้  โครงการ SMP-YRU จึงดำเนินการในรูปแบบออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาด้านวิชาการ จึงพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เพื่อสอนเสริม เพิ่มความรู้พื้นฐานให้แก่นักเรียนในรายวิชาภาาาอังกฤา ภาษาไทย ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบออนไล์ในรูปแบบระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเผยแพร่ไว้ที่เว็บไซต์ http://e-smp.yru.ac.th ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อย 

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

        วันที่ 5 มกราคม 2563 เวลา 08.45– 10.15 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นางสาวสูไวนะ เบ็ญดาโอะ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการไทเทรตกรด - เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์ บอกจุดยุติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1