วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่อง สารสกัดจากขมิ้น ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา



     วันที่ 3 สิงหาคม 2566 เวลา 15.00 – 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารสกัดจากขมิ้น ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการทดลองในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อแยกสารจากขมิ้นโดยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย และมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์การทดลองในครั้งนี้

วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
    1. เครื่องชั่ง                        7. หลอดทดลอง จำนวน 2 หลอด
    2. กระบอกตวง                   8. ขวดรูปชมพู่ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 2 ใบ
    3. กรวยกรอง                      9. ขมิ้น
    4. จุกยาง                            10. น้ำ
    5. กระดาษกรอง                 11. เอทิลแอลกอฮอล์
    6. ใบมีด
  
วิธีการทดลอง
    1. หั่นขมิ้นเป็นชิ้นขนาดเล็ก ๆ ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ทั้ง 2 ขวด ขวดละประมาณ 5 กรัม
    2. เติมน้ำและเอทิลแอลกอฮอล์ปริมาตร 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในขวดใบที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
    3. ปิดขวดรูปชมพู่ในข้อ 2. ด้วยจุกยาง แล้วเขย่าประมาณ 5 นาที
    4. แยกส่วนที่เป็นของเหลวออกจากสารผสมในขวดรูปชมพู่ทั้ง 2 ใบ เทลงในหลอดทดลอง โดยใช้กรวยแก้วและกระดาษกรองเปรียบเทียบลักษณะของเหลวที่แยกได้ สังเกตและบันทีกผลการทดลอง

อภิปรายผลการทดลอง
        จากการทดลองพบว่า ตัวทำละลายทั้ง 2 ชนิด คือ น้ำและเอทิลแอลกอฮอล์ สามารถสกัดสารจากขมิ้นได้เหมือนกัน โดยของเหลวที่สกัดได้จากขวดใบที่ 1 ซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลาย จะได้ของเหลวสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นขมิ้นเล็กน้อย ส่วนของเหลวที่สกัดได้จากขวดใบที่ 2 ซึ่งมีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย จะได้ของเหลวสีเหลืองจาง มีกลิ่นขมิ้นแรงกว่า ดังนั้น น้ำจะสามารถสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่า แต่เอทิลแอลกอฮอล์จะสามารถสกัดกลิ่นจากขมิ้นได้ดีกว่า



1 ความคิดเห็น: