วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP


        วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ แจ้งให้ทราบ ถึงทิศทางการดำเนินงานโครงการ SMP นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำผู้บริหาร คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP แจ้งถึงกำหนดการกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการแจ้งถึงการปรับกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและโรงเรียนในโครงการตามข้อเสนอแนะจากสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของโครงการ SMP และการเสนอมาตรการในการวัดระดับนักเรียนในโครงการ SMP โดยให้มีผลคะแนนอิงเกรด 20% จาก 80% ของเกรดในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้มาตรการ 20:80 ของคะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของโครงการ SMP  และได้มีการแบ่งกลุ่มในภาควิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่อหารือถึงเรื่องกิจกรรมการบริการ วิชาการและการนิเทศ รวมถึงยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางการแก้ไขปัญหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นร่วมกันระหว่างโครงการ SMP กับโรงเรียนในเครือข่าย

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนเครือข่ายโครงการ (SMP)

   

      วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 10.00 - 12.00 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน ณ ห้องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานเปิดพิธีลงนาม นายอารีฟ ดาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ นางสาวอิบตีซาม เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนคัมภีร์วิทยา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โครงการห้องเรียนพิเศษScience Mathematics Program (SMP) นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พันเอกฐกร เนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ร่วมเป็นสักขีพยาน กล่าวรายงานโดย อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ อาจารย์สาขาเคมีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดร.ศิริชัย นามบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมการจัดอบรม Basic English for Teachers



        วันที่16 ธันวาคม พ.ศ.2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำทีมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (http://clas.yru.ac.th) ในการจัดอบรม Basic English for Teachers ณ ดี อามาน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นักเรียนในโครงการ SMP เข่าร่วมค่ายประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ Printer ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

  เมื่อวันที่ 8 - 10 ธันวาคม 2560 นักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เคยมีประสบการณ์การแข่งขันหุ่นยนต์ และคว้ารางวัลในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มรย.ประกอบด้วย 1. นายอาดือนัน เจะแวดอเลาะ 2. นายฟารฮาน สาเร๊ะ และนายฮัมดัน ตาเยะ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนโรงเรียน ไปเข้าร่วมค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ Printer ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา


วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แล็ปชีววิทยา เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด

วัตถุประสงค์
1.             เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการจำแนกหมู่เลือดระบบ ABO
2.             เพื่อศึกษาวิธีการหาหมู่เลือดของตนเอง
 วัสดุและอุปกรณ์
1.             เข็มเจาะเลือด
2.             สำลีและแอลกอฮอล์ 70 %
3.             กระจกสไลด์
4.             เข็มเขี่ย
5.             ปากกาเขียนสไลด์
6.             Anti-A, Anti-B
วิธีการทดลอง  
1.      เตรียมกระจกสไลด์ที่สะอาด 1 แผ่น
2.     ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดที่ปลายนิ้วมือที่จะทำการเจาะเลือด ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงใกล้ปลายนิ้ว เพื่อเค้นเลือดให้ลงไปอยู่ที่ปลายนิ้ว แล้วใช้เข็มเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วหยดเลือดบนสไลด์ 3 หยดให้ห่างกัน
3.     หยดแอนติบอดี A ที่เลือดหยดหนึ่ง  แอนติบอดี B ที่เลือดอีกหยดหนึ่ง และ แอนติบอดี D ที่เลือดอีกหยดหนึ่ง
4.     ใช้ไม้จิ้มฟัน 3 อัน อันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี A อีกอันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี B อีกอันหนึ่งเขี่ยเลือดให้ผสมกับแอนติบอดี D
5.      สังเกต การเกิดตะกอน บันทึกผล
ภาพบรรยากาศการทำแล็ป






วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นักเรียน SMP โรงเรียนดำรงวิทยา ร่วมโครงการหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น บูรณาการกับรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี




ด้วยทางโรงเรียนดำรงวิทยาได้มีโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ให้กับนักเรียน เพื่อที่จะให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับความรู้ทางด้านสายอาชีพที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างอาชีพให้กับนักเรียนในอนาคตได้ ในการนี้ได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในทุกๆ สัปดาห์ของวันพฤหัสบดี โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยสารพัดช่างยะลา 
ซึ่งมีหลักสูตรที่เปิดจำวนวน 5 หลักสูตรดังนี้
- หลักสูตรช่างเชื่อม
- หลักสูตรคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรขนมอบ
- หลักสูตรเย็บผ้า
- หลักสูตรคหกรรม


ซึ่งนักเรียน SMP ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ได้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ในทุกๆ วันพฤหัสบดี เวลา 08.30-12.00 น. โดยได้บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม Basic English for Teachers แก่ครูในโครงการ


       เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (clas.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ Basic English for Teachers สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนในเครือข่าย จาก 9 โรงเรียน จำนวน 49 คน  ณ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา ชั้น 7 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และจะอบรมนอกสถานที่ในระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2560 ณ ดีอาร์มาน รีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา โดยวันนี้มี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อดีรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานดำเนินงานโครงการ SMP ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอบรม Basic English for Teachers และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ โดย  ผศ.ดร.สุกินา อาแล ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา