วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กิจกรรมและการใช้ห้องปฏิบัติการ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์

กิจกรรมทำน้ำยาซักผ้าเศรษฐกิจพอเพียง

     ในคาบกิจกรรมของโรงเรียน นักเรียนในโครงการ SMP ได้ลงมือปฏิบัติการทำน้ำยาซักผ้า เป็นการเรียนรู้และส่งเสริมให้นักเรียนผลิตน้ำยาซักผ้าที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำใช้เอง

 


เรียนพิเศษในวันหยุดสุดสัปดาห์ 

     ทุกๆวันหยุดสุดสัปดาห์นักเรียนมาเรียนพิเศษ โดยนักวิทยาศาสตร์เป็นคนสอน ซึ่งจะเน้นการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริง เรียนสลับวิชากันไปตามสัปดาห์ ภาพตัวอย่าง

2.1 การผ่ากบ ศึกษาอวัยวะภายใน

 

 

2.2 การศึกษาลักษณะโครงสร้างเรณูและอัปสปอร์ของพืชดอกและการเตรียมสไลด์สด



 

 


 

 


ออกพื้นที่แนะแนวและรับสมัครนักเรียนโครงการ SMP ปีการศึกษา 60 

     นักวิทยาศาสตร์และนักเรียนในโครงการได้เข้าร่วมแนะแนวกับทางโรงเรียน โดยจะลงพื้นที่เขตอำเภอกาบัง อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอยะหา แนะแนวโครงการให้กับนักเรียนที่จะขึ้นม.4 พร้อมกับประชาสัมพันธ์โครงการ

 

 
 


บรรยากาศการสอบนักเรียนใหม่ปี 60

   เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 วันสอบนักเรียนเข้าร่วมโครงการ SMP ปี 60  มีนักเรียนสมัครทั้งหมด 46 คน สนามสอบ ณ. โรงเรียนมบูรณ์ศาสน์ใช้ข้อสอบกลางที่มหาวิยาลัยราชภัฏยะลากำหนดให้

 


นักเรียนในโครงการ SMP 10 คน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปเข้าค่ายและร่วมการแข่งขัน  English Enhancement camp ที่ดิอามาน โฮเตล เเอนด รีสอร์ท

 

 

 สามารถติดตามกิจกรรมหรือการเรียนการสอนโครงการ SMP  โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์



การใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา


ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

จากที่โรงเรียนดำรงวิทยาได้ทำ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการจัดตั้งโปรแกรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙  นั้น ทางโครงการได้ดำเนินการสร้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนในเครือข่าย ให้นักเรียนได้ใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีมาตรฐาน มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัยและหลากหลาย เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมครูบุคลากรใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้เต็มที่ มีการใช้จัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน SMP และนักเรียนระดับชั้นอื่นๆ ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ด้วยตนเองตลอดจนใช้เทคโนโลยีต่างๆ
     โดยสรุปการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดังนี้

ห้องปฏิบัติการ
จำนวนครั้งที่ใช้
วิทยาศาสตร์
๒๑ ครั้ง
คณิตศาสตร์
๓ ครั้ง
                                             
                                                     #ข้อมูล ณ  วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

การเตรียมสารละลายนักเรียนชั้นม.๕
การนำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน
การทดลองเรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ นักเรียนชั้นม.๔
การทดลองเรื่องเซลล์ไฟฟ้ากัลวานิค

การทดลองเรื่องการแปรสภาพของดิน นักเรียนชั้นม.๒

การทดลองเรื่องการทำสบู่นักเรียนชั้นม.๒
การทดลองเรื่องกรดเบส นักเรียนชั้นม.๑
การทดลองเรื่องระบบคาน รายวิชาฟิสิกส์ นักเรียนชั้นม.๕
การทดลองเรื่องการเกิดปฏิกิริยาเซลล์ไฟฟ้าเคมี
การใช้ห้องคณิตศาสตร์
       ในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในแต่ละครั้งจะมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน คอยดูแล และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการทดลองต่างๆ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผลการวิจัยประเมินโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

Download [ฉบับเต็ม] [สไลด์นำเสนอ]
การดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทย์-คณิต หรือโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 6 โรงเรียน และโดยการสนับสนุนของสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นับเป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างไปจากในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงหลักสูตรการเรียนรู้ที่มีทั้งการสอนด้านศาสนาและสายสามัญควบคู่กัน
   การดำเนินงานโครงการ SMP ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา (งบประมาณ พ.ศ. 2559) มีรูปแบบการดำเนินงานโครงการในลักษณะความร่วมมือการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด อาจเรียกว่าได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันในลักษณะคณะกรรมการฯ ทั้งจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่สำคัญคือรูปแบบกิจกรรมมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาในทุกมิติที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ เช่น การพัฒนาผู้บริหาร การพัฒนาครู การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ จัดหาหนังสือ การพัฒนานักเรียน มีกระบวนการติดตามลงพื้นที่นิเทศและให้คำปรึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงทำให้โครงการดังกล่าว มีลักษณะพิเศษในความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เข้าใจเป้าหมายของโครงการตรงกัน นอกจากนนั้น ยังได้มีกระบวนการติดตามประเมินผลโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ CIPP Model ดำเนินการวิจัยโดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา และคณะ ดำเนินการติดตามประเมินผลในทุกปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในภาพรวมมีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานในโครงการเห็นว่า ควรมีการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการวิจัยดังแสดงรายละเอียดไว้ในรายงานการวิจัยฉบับเต็ม หวังว่าผลการวิจัยฯ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ คณะกรรมการดำเนินงานวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการ SMP ประชุมเตรียมงานร่วมจัดนิทรรศการวันราชภัฏ


       ช่วงบ่ายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประธานในการประชุมร่วมกับกรรมการบริหารโครงการ SMP เจ้าหน้าที่ และนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ SMP และการจัดแสดงผลงานของนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ในงานวันราชภัฏ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ณ บริเวณชั้น 2 อาคารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

       
ชี้แจง และทำความเข้าใจรูปแบบในการจัดนิทรรศการ

       

สอบถาม ติดตาม รายงาน ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานโครงการจากนักวิทยาศาสตร์ที่ประจำโรงเรียนเครือข่าย

          ขอขอบคุณ คณะผู้จัดงานวันราชภัฏ ที่จัดเตรียมพื้นที่ในการจัดนิทรรศการให้แก่โครงการ SMP  ทั้งนี้คณะทำงานมีความตั้งใจที่จะใช้ช่องทางในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ ให้เข้าถึงชุมชนและเป็นที่รู้จักได้มากขึ้น เพื่อที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความสนใจและมีความถนัดในทักษะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมต่อไป