วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ จัดขึ้นโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

    เมื่อวันที่ 23 - 24 ตุลาคม 2564 ทีมนักเรียนโครงการ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ประกอบด้วยนางสาวฟารีดา มะเกะ นางสาวนูรอาซูรา เลาะแมหอ และนางสาวนูรฮีดายะห์ มูยา เข้าร่ามกิจกรรมและการการแข่งขันพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่จัดขึ้นโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนผ่านกลไกกระบวนการเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายสามจังหวัดชายแดนใต้ รุ่นที่ 2

 


    เมื่อวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2564 นักเรียนในโครงการ smp นางสาวฮัสซูนาห์ แวแดร์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนผ่านกลไกกระบวนการเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายสามจังหวัดชายแดนใต้ รุ่นที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ที่จัดขึ่นโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กิจกรรม อบรมทำ Portfolio โรงเรียนคัมภีร์วิทยา

          วันที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00 - 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา(SMP-YRU) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทำ Portfolio ด้วยแอพลิเคชั่น CANVA ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meetings ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเตรียมความพร้อม และเป็นแนวทางสำหรับการใช้สมัครศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยมีนายธวัชชัย ปราณขำ นักออกแบบ กราฟิก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากรการอบรมในครั้งนี้

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กิจกรรม อบรมทำ Portfolio เสริมสร้างสมรรถนะในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

         

        วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00 - 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา(SMP-YRU) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทำ Portfolio เสริมสร้างสมรรถนะในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยแอพลิเคชั่น CANVA ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meetings ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเตรียมความพร้อม และเป็นแนวทางสำหรับการใช้สมัครศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยมีนายธวัชชัย ปราณขำ นักออกแบบ กราฟิก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากรการอบรมในครั้งนี้

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โรงเรียนดำรงวิทยา จัดอบรมการทำ Portfolio เสริมสร้างสมรรถนะการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

        เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00 - 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (SMP-YRU) โรงเรียนดำรงวิทยา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทำ Portfolio เสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยแอพลิเคชั่น CANVA ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meetings ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 เพื่อเตรียมความพร้อม และเป็นแนวทางสำหรับการใช้สมัครศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยมีนายธวัชชัย ปราณขำ นักออกแบบ กราฟิก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากร และมีครูผู้สอนหมวดเทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยในการอบรมในครั้งนี้

       จากการอบรมในครั้งนี้ นักเรียนได้สะท้อนความคิดเห็นว่า เป็นหนึ่งกิจกรรมที่มีความน่าสนใจ และมีประโยชน์ อยากให้มีการจัดอบรมขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้รุ่นน้องในปีต่อๆไป จากการอบรมในครั้งนี้นักเรียนสามารถนำไปต่อยอด และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ในกิจกรรมอื่นต่อไปได้ ในการนี้ทางโรงเรียนต้องขอขอบคุณไปยังทางโครงการ SMP - YRU ที่อำนวยความสะดวกในการอบรมในครั้งนี้ด้วย

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meeting)

          วันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 09.00 - 12.30 น. โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร คณะกรรมการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่โครงการ SMP-YRU ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ด้วยโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program Yala Rajabhat: SMP-YRU) ในโรงเรียนเครือข่ายพื้นที่จังหวัดยะลา ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้กำหนดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meeting) ใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มหาวิทยาลัยฯ รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา ข้อเสนอแนะ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับตัวแทนศูนย์สันติวิธี กอร.มน ภาค 4 ส่วนหน้า ตัวแทนสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ผู้บริหาร คุณครู ผู้ปกครองและนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่าย 12 โรงเรียน เพื่อนำแนวทางมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาโครงการ SMP-YRU ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริการวิชาการและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาครูและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย




วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

ผู้บริหารโครงการ SMP-YRU เสนอผลดำเนินงานต่ออนุกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคง วุฒิสภา

   วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 09.00-12.00 น. อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับกองนโยบายและแผน เสนอรายงานผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแผนดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่ออนุกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคง วุฒิสภา  ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  

    ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการสร้างภูมิคุ้มกันในพื้นที่ จชต. ตามแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม ได้แก่ 

กิจกรรมที่ 1  การปรับปรุงห้องปฏิบัติการในโรงเรียนเดิมรุ่นแรก 
             ตามที่ในปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณเงินอุดหนุน เฉพาะหมวดสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ สนับสนุนการพัฒนาห้องเรียนพิเศษ SMP จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่  (1) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง (2) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง  (3) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ตำบลบะแต อำเภอยะหา (4) โรงเรียนดำรงวิทยา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา (5) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน และ (6) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต ซึ่งใช้ประโยชน์มานานกว่า 5 ปี จึงเน้นการปรับปรุงให้ห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ใน 6 โรงเรียนเดิม ในรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ซึ่งครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเรียนปฏิบัติการเสื่อมสภาพ ชำรุด ต้องซ่อมแซม ปรับปรุง และจัดหาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.4 - ม.6 รวมทั้งนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน สร้างโอกาสการศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญของ Thailand 4.0


    กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียน STEAM  (Science, Technology, Engineer, Art, Mathematics) 

          เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายพัฒนา ห้องปฏิบัติการประดิษฐ์กรรม (Fabrication Laboratory) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า FabLab  ดำเนินการโดย คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์ในด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียน SMP-YRU และในสังกัด สพม. เพื่อ ปลูกฝัง เสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้าน STEAM และการประกอบอาชีพในอนาคตด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนในพื้นที่ จชต. ด้วยการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา เน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในโรงเรียนพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคงดังกล่าว ทั้งโรงเรียนเดิมในโครงการ SMP-YRU (8 โรงเรียน) และโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาของมหาวิทยาลัย (4 โรงเรียน) รวม 12 โรงเรียน  ได้แก่ 

1) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สพม.)
2) โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา  (สช.)
3) โรงเรียนเบตงวีระราษฎร์ประสาน (สพม.) 
4) โรงเรียนสตรียะลา (สพม.)
5) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (SMP-YRU)
6) โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิยะลา (SMP-YRU)
7) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา (SMP-YRU) 
8) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (SMP-YRU)
9) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (SMP-YRU)
10) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (SMP-YRU)
11) โรงเรียนดำรงวิทยา (SMP-YRU)
12) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (SMP-YRU)

   ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานในโครงการ SMP-YRU ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จะส่งผลให้นักเรียนระดับชั้น ม.4-ม.6 ในโรงเรียน SMP-YRU จากทั้ง 12 โรงเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษา ลดช่องว่างทางการศึกษา โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 คน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ครู ของโรงเรียน ประชาชนในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน เกิดการรับรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการ SMP-YRU แบบบูรณาการ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชน โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป