วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-15.00 น. คณะกรรมการแผนวิจัย PLC ประชุมยกร่างแผนจัดการเรียนรู้ผ่านทางระบบออนไลน์ โดย อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ประจำแผนงานวิจัยฯ PLC ประชุมร่วมกับ ครูผู้สอนทั้ง 12 โรงเรียน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 23 คน จาก 12 โรงเรียน โดยจะมีการอบรมแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. การเขียนแผน
1.1 เป็นการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
1.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ + คำอธิบายรายวิชา + กระบวนการเรียนรู้
1.3 คำนึงถึงศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.4 แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5 มีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน
1.6 ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
2. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
2.1 หลักสูตร
- จัดการเรียนรู้เพื่ออะไร
- จัดการเรียนรู้อย่างไร
- ผู้เรียนสำคัญหรือไม่
- ผลการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
2.2 แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. หัวเรื่อง
2. สาระสำคัญ
3. มาตรฐานและตัวชี้วัด
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
5. สาระการเรียนรู้
6. กระบวนการเรียนรู้
- ขั้นนำ
- ขั้นสอน
- ขั้นสรุป
7. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้
8. การวัดและประเมินผล
9. บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
อย่างไรก็ตามการจัดทำแผนการเรียนรู้นั้นก็ต้องมีความสอดคล้องกับบริบทนักเรียนโรงเรียน และชุมชน เช่นเดียวกัน โดยครูได้แชร์ประสบการณ์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ในส่วนเนื้อหาสาระของแผนการสอนของโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดที่ครบถ้วนพอสมควร ที่จะนำมาต่อยอดแผนการจัดการเรียนรู้ PLC และเครื่องมือส่วนใหญ่ที่ครูได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์โควิดจำเป็นต้องเรียนแบบออนไลน์นั้น ได้แก่ google classroom ร่วมกับ google meet และgoogle from เป็นต้น
การจัดทำแผนการเรียนรู้ PLC
ที่ประชุมผู้ร่วมวิจัย ร่วมกันนำเสนอแผนการสอน PLC ให้ครูเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
2. บทเรียนในหน่วยการเรียนรู้:
3. วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ของบทเรียน
4. คำถามหลักสำหรับการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
5. ลักษณะของงานที่มอบหมายให้นักเรียน
6. สื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็น
7. โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ทั่วไป
7.1 ขั้นเตรียมความพร้อม (สร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และตรวจสอบความรู้เดิม
(10 นาที)
7.2 ขั้นแนะนำหัวข้อหลักใน บทเรียน ( สำรวจ ) (15 นาที)
7.3 การแก้ไขปัญหา การรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ กิจกรรมการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการแปลความ(อธิบาย) (70 นาที)
7.4 การนำไปใช้จริง การบ้าน และการเชื่อมโยงกับสาระวิชาอื่น (5 นาที)
7.5 ขั้นสรุป (ประเมินผลการเรียนรู้ สะท้อนผลการเรียนรู้ และ การสะท้อนถึงความสมเหตุสมผล (5 นาที)
8. สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู: ทราบได้อย่างไรว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้สำเร็จผลด้วยดี (ระบุหลักฐาน)
********************************************************************