วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร


          วันที่ 1 กันยายน 2563 เวลา 14.20 – 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์อาหารและยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดลอง

โครงการ SMP-YRU พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

การดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการ SMP-YRU ซึ่งเริ่มดำเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในแนวทางการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการร่วมกับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ในพื้นที่ 12 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการ โต๊ะเก้าอี้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือทดลอง วัสดุการทดลอง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่เน้นการปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) ให้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งด้านความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผ่านกระบวนการของค่ายพัฒนาในแต่ละด้าน 

        รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการ SMP-YRU มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ให้โอกาสผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทดลอง การทำโครงงาน (Project) ด้านวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในโครงการยังคงมีปัญหาของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ (Lab) ไม่ครบถ้วน เนื่องจากครูมีเวลาไม่เพียงพอ ครูขาดทักษะในการทดลอง นักเรียนมีเวลาในห้องปฏิบัติการน้อย จากการสำรวจครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งออนไลน์ ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาการทดลอง ขั้นตอนการทดลองมาก่อนโดยการศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะทำให้สามารถลดเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติ สามารถทดลองและรายงานผลการทดลองได้ทันเวลา  โดยส่งรายงานผ่านทางออนไลน์ในระบบอิเลิร์นนิ่ง ผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น

      อย่างไรก็ตาม รายวิชาที่ผู้สอนเห็นว่ามีความจำเป็น เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ที่ควรพัฒนาเป็นรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่งได้แก่ รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเนื้อหาปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 เรื่อง ตามที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสำคัญมากสุดตามลำดับ ซึ่งทีมงาน SMP-YRU โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอมาผนวกเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (Courseware)  เพื่อให้นักเรียนระดับชั้น ม.4  หรือครูผู้สอนเข้ามาเรียนรู้ ก่อนทำการทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป    













วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส


           วันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา

       

        วันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมลุตฟีย์ ชั้น 2 อาคารลุตฟีย์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา จัดโดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ซึ่งมีวิทยากรจากบริษัทฮอนด้ายะลาให้ความรู้

บทปฏิบัติการ เรื่องลูกตุ้มอย่างง่าย

       วันที่ 27 สิงหาคม  2563 เวลา 10.25-11.45 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง ลูกตุ้มอย่างง่าย โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน


    เมื่อวันที่ 25 เดือนสิงหาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

หลักการ
    สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4

สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ ดังนี้
1) การละลายน้ำ
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว
2) การเผาไหม้
เมื่อพิจารณาการเผาไหม้ ปรากฏว่า เฮกเซนติดไฟให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ส่วนไซโคลเฮกซีนติดไฟง่ายให้เปลวไฟสว่างมีเขม่าและเบนซีนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างมีควันและเขม่ามาก เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าพิจารณาอัตราส่วน C : H ในแต่ละสารจะได้
   
                                การละลายน้ำ                                                                  การเผาไหม้

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา


            เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์


          การกลั่น (Distilation) คือ กระบวนการแยกสารละลายที่เป็นของเหลวหรือทำสารให้บริสุทธิ์ (Purification) จากสารละลายผสม โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน เพื่อทำให้สารละลายหรือตัวทำลายหนึ่งระเหยกลายเป็นไอ จากนั้นไอจะเกิดการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิต่ำ จึงเกิดการควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งในภาชนะอื่น การกลั่น เป็นกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ำมัน (Gasoline) และน้ำมันเชื้อเพลิง (Kerosene), การผลิตน้ำกลั่น, การแยกตัวทำละลายอินทรีย์ ฯลฯ