เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 - 16.30 น. ณ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ด้วยโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (UV-Vis spectrophotometer) Hotplate and Hood Balance กล้องจุลทรรศน์ Hot Air Oven Water Bath pH Conduct Meter และเครื่องชั่ง 4,3 ตำแหน่ง เป็นต้น เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านปฏิบัตการวิทยาศาสตร์ และเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิทยาศาสตร์ของโครงการ SMP เป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการห้องวิทยาศาสตร์ โดยมีนักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่าย จำนวน ๙ โรงเรียน ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลา
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ประชุมชี้แจงโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพิ่มโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563
วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมกะมูดู ( ชั้น 5 ศูนย์คอมฯ) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา จัดประชุมชี้แจงโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โดยมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมชี้แจง ให้กับโรงเรียนที่ร่วมสมัครคัดเลือก เพื่อเป็นโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP
ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับจัดสรรงบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ในแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นโครงการสำคัญ (Flagship Project) สนับสนุนการดำเนินงานโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในรูปแบบของบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการบริหารวิชาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่ ภายใต้ห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา โดยในปีงบประมาณ 2563 มีการเพิ่มโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน จากเดิมมีโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 9 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2563 มีโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 12 โรงเรียน
โรงเรียนที่เข้าร่วมสมัครคัดเลือกเพื่อเป็นโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP มีจำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่
(1) โรงเรียนมะฮัดดะวะห์อิสลามียะห์
(2) โรงเรียนสตรีอิสลามมูลนิธิ
(3) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา
(4) โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี)
(5) โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา
(6) โรงเรียนผดุงศิลวิทยา
(1) โรงเรียนมะฮัดดะวะห์อิสลามียะห์
(2) โรงเรียนสตรีอิสลามมูลนิธิ
(3) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา
(4) โรงเรียนพัฒนาวิทยากร (ปอเนาะบาบอลี)
(5) โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา
(6) โรงเรียนผดุงศิลวิทยา
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
อบรมพัฒนาทักษะความเป็นครูสำหรับครูในโรงเรียนประทีปวิทยา
[สไลด์ประกอบการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้] |
วันที่ 28 ตุลาคม 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) โรงเรียนประทีปวิทยา นางสาวอิบตีซาน เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา จัดอบรมพัฒนาทักษะความเป็นครูสำหรับครูในโรงเรียนประทีปวิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นครูให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาทักษะความเป็นครู
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562
อบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดจัดอบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนดำรงวิทยา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำ Portfolio สมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ต่างๆ โดยมี นายธวัชชัย ปราณขำ นักวิชาการศึกษา ประจำโครงการ SMP เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหลักการทำ Portfolio
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงานโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2563
ในการประชุมคณะกรรมการโครงการ SMP ร่วมวางแผนแนวทางการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2563 มีการเพิ่มจำนวนโรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน จากเดิมจำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ (1)โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (2)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ (3)โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (4)โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (4)โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (6)โรงเรียนดำรงวิทยา (7)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ (8)โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (9)โรงเรียนประทีปวิทยา รวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2563 มีโรงเรียในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 12 โรงเรียน ซึ่ง 3 โรงเรียนใหม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และที่เกี่ยวข้องอีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความมั่นคงเสริมสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรือง การศึกษาคลื่นกล
วันที่ 2 ตุลาคม 2562
เวลา 14.30– 16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการ SMP โรงเรียนคัมภีร์วิทยา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 smp ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองวิชาฟิสิกส์
เรื่อง การศึกษาคลื่นกล โดยมี อ.นูรีดา กะลูแป อาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์ เป็นผู้สอน
และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดคลื่นนิ่ง
2.เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจคุณสมบัติของการเกิดคลื่นนำ้
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
อบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยแอพพลิเคชั่น CANVA
วันที่ 1 ตุลาคม 2562 นายธวัชชัย ปราณขำ นักวิชาการศึกษา โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP นางสาวฮาลีเมาะ เลาะแม นางสาวตัยยีบะห์ สะตาปอ และนางสาวมาซีเตาะห์ ปะดอแม ลงพื้นที่โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ จัดอบรมการทำ Portfolio เสริมสร้าง สมรรถนะสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
การอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียน ในการสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Portfolio คือ แอพพลิเคชั่น CANVA (www.canva.com) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้แก้ไขภาพและสามารถออกแบบดีไซน์งานกราฟฟิก โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่ตัวแอพพลิเคชั่น เช่น รูปภาพ ข้อความ สติ๊กเกอร์ แม่แบบ และรูปทรงวัตถุต่างๆ อีกมากมาย สามารถใช้ งานผ่านโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน โดยการโหลดแอพพลิเคชั่น และสามารถใช้ งานผ่านคอมพิวเตอร์ PC หรือ notebook โดยการเข้าใช้งานผ่านเว็บไชต์บราวเซอร์ (www.canva.com)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)