วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เยี่ยมชมศึกษา ระบบนิเวศป่าชายเลน บ้านห้วยทรัพย์ ดงลำพูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “ป่าอเมซอนเมืองไทย”


        วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เยี่ยมชมศึกษา ระบบนิเวศป่าชายเลน บ้านห้วยทรัพย์ หมู่ 4 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

        อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ ได้เยี่ยมชมเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของบ้านห้วยทรัพย์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ศึกษาความหลากหลาย สัตว์บกสัตว์น้ำ พันธุ์พืชไม้ ของระบบนิเวศในป่าชายเลน และได้เยียมชมเรียนรู้วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติของชาวบ้าน ดูการจับกุ้งจับปลาโดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านในการจับ

        บ้านห้วยทรัพย์ มีดงลำพูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้ชื่อว่าเป็น “ป่าอเมซอนเมืองไทย” มีระบบนิเวศแบบ 3 น้ำ น้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ อีกทั้งป่าชายเลนยังให้ประโยชน์ทั้งช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ และยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน เวลาน้ำขึ้น ชาวบ้านจะไป ตัดจาก, หาหอย, จับปูเปี้ยว,ดักอวน, ช่วงน้ำลงก็ หาหอย, ถีบกระดานหาหอย, ตกเบ็ด และหาปู

        ลักษณะเด่นของป่าชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ คือมีตะกอนแลนมาสะสม ทำให้เกิดพื้นที่ดินเลนงอกใหม่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ปีละหลายสิบไร่ และเกิดเป็นผืนป่าชายเลนขึ้นบริเวณปากแม่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นต้นลำพู ลำแพน และแสม มีการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยชุมชนซึ่งเกิดจากความร่วมมือของส่วนราชการและกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่าชายเลนที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สรุปผลงานดำเดินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562


       วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สรุปผลการดำเนินงาน ณ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารเป็นประธานในการประชุมและมีคณะกรรม เจ้าหน้าโครงการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

     การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเดินงานกิจกรรม โครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2562 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเดินงานเพื่อเป็นแนวทางการวางระบบการจัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์แต่ละกิจกรรม สรุปผลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รุ่นที่ 1 ในโครงการ SMP ที่สำเร็จการศึกประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 238 คน พบว่า tcas รอบที่ 1 - 2 มีนักเรียน จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 29% ได้ที่เรียนแล้ว ส่วนนักเรียน จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 71% กำลังหาที่เรียนเข้าสู่ระบบ TCAS รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน + กสพท ระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2562 - 18 พฤษภาคม 2562 และเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยเอกชนทั่วไป นักเรียนใน จำนวน 70 คน เข้าเรียนในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 91% นักเรียนที่สนใจเรียนด้านสังคมศาสตร์และด้านอื่นๆ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 9% ผลคะแนนสอบ ONet ประจำปีการศึกษา 2561 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รุ่นที่ 1 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 6 โรงเรียน เมื่อเทียบกันระหว่างห้องเรียนพิเศษ SMP กับห้องเรียนปกติในโรงเรียนเครือข่าย พบว่าห้องเรียนพิเศษ SMP มีคะแนนสูงกว่าห้องเรียนปกติ และผลคะแนนสอบ ONet ทั้ง 6 โรงเรียนในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

พิธีปิด กิจกรรมอมรมเชิงปฏิบัติการ English for communication สำหรับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP



        วันที่ 23 เมษายน 2562 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีปิด กิจกรรมอมรมเชิงปฏิบัติการ English for communication สำหรับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ซึ่งจัดโดย โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับสาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ภายใต้ชื่อโครงการค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ทั้งทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเน้นสื่อสารในชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน

ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

        

        
       ระหว่างวันที่ 18 – 20 เมษายน 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ณ หาดแก้วรีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมี อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิด มีผู้เข้าร่วมค่ายอบรบจำนวน 292 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ได้แก่ (1) โรงเรียนดำรงวิทยา (2) โรงเรียนคัมภีร์วิทยา (3) โรงเรียนประทีบวิทยา (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา (6) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (7) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา (8) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ (9) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนเกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
        “STEM” คือ แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ในสหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงรวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
ในกิจกรรมค่ายอบรม มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ STEM และกิจกรรม Workshop เช่น นาวาฝ่าวิกฤต ให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ลงมือทำปฏิบัติจริง โดยใช้องค์ความรู้จากที่เคยเรียนมา 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) มาต่อยอดหรือพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

พิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา และจริยธรรมการสื่อสารในยุคไอที่ รุ่นที่ 3


          วันที่ 21 เมษายน 2562 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา และจริยธรรมการสื่อสารในยุคไอที่ รุ่นที่ 1 ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตด้วยไอทีสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP
        ในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์อีลีหย๊ะ สนิโซ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานโดย ดร.อัจฉราพร ยกขุน
ประธานหลักสูตร  และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

พิธีปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา และจริยธรรมการสื่อสารในยุคไอที่ รุ่นที่ 2


        วันที่ 20 เมษายน 2562 ณ อาคาร 25 เทคโนโลยีสารสนเทศ ลานกิจกรรม ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์พิมลพรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา และจริยธรรมการสื่อสารในยุคไอที่ รุ่นที่ 2 ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตด้วยไอทีสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกิจกรรมนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดให้กับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนในโครงการ SMP ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนในโครงการ SMP ให้รู้จักประยุกต์ใช้โปรแกรมจากสื่อสังคมออนไลน์แบบสาธารณะ ด้วยโปรแกรม Google Apps for Education เพื่อบริการวิชาการโดยการถ่ายทอดความรู้จากคณาจารย์ และนักศึกษา ให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตสำหรับนักเรียน กิจกรรมแข่งขันรถพลังงานหนังยาง


        ค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วันที่ 19 เมษายน 2562 กิจกรรมแข่งขันรถพลังงานหนังยาง โดยใช้องค์ความรู้ " STEM "4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) ในการประดิษฐ์รถพลังงานหนังยาง ให้วิ่งได้ไกล เร็ว และวิ่งเป็นเส้นตรง นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และออกแบบ โดยใช้หลักการ STEM 4 สาขาวิชา เพื่อนำกระบวนการและความรู้ที่ได้พัฒนาในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้