วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

การทดสอบวิตามินซีในน้ำผลไม้

      เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ได้ขออนุญาติใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแลปปฏิบัติการ รายวิชาชีววิทยา เรื่องการทดสอบวิตามินซีในในน้ำผลไม้ โดยมีอาจารย์นุรีซา สาแมเป็นผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ปฏิบัติการ



วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบน้ำผลไม้ในน้ำผลไม้

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1. น้ำผลไม้ คือ น้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม น้ำสัปปรด น้ำมะนาว และน้ำมะละกอสุก
2. น้ำแป้งสุก
3. สารละลายไอโอดีน
4. หลอดทดลอง.หลอดฉีดยา
5. Dropper(หลอดหยด)

การทดสอบวิตามินซี

ทำได้โดยหยดสารละลายไอโอดีนลงในน้ำแป้งสุกจะได้สารผสมสีน้ำเงิน จากนั้นนำสารที่สงสัยว่ามีวิตามินซีมาหยดในสารผสมดังกล่าว ถ้าสีน้ำเงินในสารผสมระหว่างน้ำแป้งสุกและสารละลายไอโอดีนจางหายไป แสดงว่าสารที่สงสัยมีวิตามินซี ในกรณีนี้ถ้าใช้สารที่สงสัยจำนวนน้อยหยด แล้วสามารถทำให้สีน้ำเงินในน้ำแป้งจางหายไปหมด แสดงว่าสารที่สงสัยมีปริมาณวิตามินซีมาก



การทดลองเรื่อง การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า

    เมือวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โครงการห้องเรียนพิเศษ smp โรงเรียนคัมภีร์วิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า
โดยมี อ.มูฮัมหมัดซุกรี มาแจ เป้นผู้สอน
 การแยกสารละลาย NaCl ด้วยกระแสไฟฟ้า

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม“วัยหรอย วัย Learn” ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-6) โรงเรียนดำรงวิทยา



เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561   เวลา 13.00-16.00 น. ทางบริษัท ทรูดิสทริบิวชั่นส์แอนด์เซลส์ จำกัด มาจัดกิจกกรม “วัยหรอย วัย Learn” ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) โรงเรียนดำรงวิทยา ณ ห้องประชุม อาคารหะยีรอมลี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งมั่นในการให้ความรู้และความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยีพื้นฐานทางโทรคมนาคม และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี 4G และ 3G การใช้งานสื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมทางด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชนในทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับกิจกรรมปลูกปัญญาที่ทางบริษัทฯ สนับสนุนโดยตลอด

แลปปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของเสียง


   เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 SMP ได้ทำการเรียนการสอนในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การสั่นพ้องของเสียง โดยมีอาจารย์นูซีลา จินตรา ครูผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์
🎵 การทดลองเรื่องการสั่นพ้องของเสียง (Sound Resonance) 
หมายถึงการที่ทำให้อากาศที่อยู่ในกล่องหรือในท่อสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติ  อากาศก็จะสั่นด้วยแอมปลิจูดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเสียงดังมากขึ้นกว่าปกติ เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า  “การสั่นพ้องของเสียง”  หรือการที่เราให้ความถี่เสียงที่มีค่าเท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่งก็สามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยแอมปลิจูดมากขึ้นเรื่อยๆ

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นนิ่งในเส้นเชือก และการสั่นพ้องของคลื่นเสียง


         วันที่ 18 กันยายน 2561 เวลา 15.00 – 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการ SMP โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นนิ่งในเส้นเชือก (Standing wave) และการสั่นพ้องของคลื่นเสียง (Sound Resonance) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โดยมีอาจารย์ซากียะ วาเงาะ เป็นผู้ฝึกสอน และมีนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการทำการทดลองในครั้งนี้
การทดลองเรื่อง การสั่นพ้องของคลื่นเสียง

แลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเอ็นเออย่างง่าย

⏩⏩⏪⏪

   เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เรียนแลปปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเออย่างง่าย จากผักผลไม้ด้วยวิธีอย่างง่าย โดยใช้น้ำยาล้างจาน เกลือแกง และแอลกอฮอล์ อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์และควบคุมการทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์

ปฏิบัติการฟิสิกส์ เรื่อง ความหนืดของของเหลว

             เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 เวลา 13.20 - 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ความหนืดของของไหล ให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยมีอาจารย์นายีบะห์ ลือแบซา เป็นอาจารย์ประจำวิชาฟิสิกส์  ทำการทดลองกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหาสัมประสิทธิ์ความหนืดของของเหลวที่กำหนดโดยการวัดความเร็วปลายของวัตถุทรงกลม



วัตถุประสงค์
        1.อธิบายความหนืดและแรงหนืดในของเหลวได้
        2.อธิบายได้ว่า แรงหนืดของเหลวที่กระทำต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลวขึ้นอยู่กับขนาดความเร็ว ของวัตถุ
        3.นำสมบัติควาหนืดของของเหลวไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้