แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

ประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561

     

         วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP ประจำปีงบประมาณ 2561 ตั้งแต่วันที่ 21- 23 มกราคม 2561 ณ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลเชียงเกาะ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนหลักสูตรโครงการ SMP กล่าวรายงาน โดย อาจารย์ปฏิพัทธ์ ชุมเกศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

คณะกรรมการโครงการ SMP ลงพื้นที่ร่วมประชุมกับโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ

        วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น. ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการโครงการ SMP ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และร่วมประชุมกับโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ประจำปีงบประมาณ 2561 



วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP


        วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางในการดำเนินงานโครงการ SMP ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 โรงเรียน ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุมหลู่หุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์ แจ้งให้ทราบ ถึงทิศทางการดำเนินงานโครงการ SMP นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำผู้บริหาร คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP แจ้งถึงกำหนดการกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการแจ้งถึงการปรับกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและโรงเรียนในโครงการตามข้อเสนอแนะจากสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ยังได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ผ่านของโครงการ SMP และการเสนอมาตรการในการวัดระดับนักเรียนในโครงการ SMP โดยให้มีผลคะแนนอิงเกรด 20% จาก 80% ของเกรดในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้มาตรการ 20:80 ของคะแนน เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นความสำคัญของโครงการ SMP  และได้มีการแบ่งกลุ่มในภาควิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่อหารือถึงเรื่องกิจกรรมการบริการ วิชาการและการนิเทศ รวมถึงยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางการแก้ไขปัญหาของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านมา และยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะจัดขึ้นร่วมกันระหว่างโครงการ SMP กับโรงเรียนในเครือข่าย

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนเครือข่ายโครงการ (SMP)

   

      วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เวลา 10.00 - 12.00 น. โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โรงเรียนในเครือข่ายโครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน ณ ห้องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานเปิดพิธีลงนาม นายอารีฟ ดาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ นางสาวอิบตีซาม เจะแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปวิทยา นายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนคัมภีร์วิทยา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ MOU โครงการห้องเรียนพิเศษScience Mathematics Program (SMP) นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พันเอกฐกร เนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ร่วมเป็นสักขีพยาน กล่าวรายงานโดย อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ อาจารย์สาขาเคมีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดร.ศิริชัย นามบุรี และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมการจัดอบรม Basic English for Teachers



        วันที่16 ธันวาคม พ.ศ.2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำทีมโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และเจ้าหน้าที่โครงการ SMP เยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (http://clas.yru.ac.th) ในการจัดอบรม Basic English for Teachers ณ ดี อามาน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม Basic English for Teachers แก่ครูในโครงการ


       เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 โครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา (clas.yru.ac.th) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมอบรม หัวข้อ Basic English for Teachers สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนในเครือข่าย จาก 9 โรงเรียน จำนวน 49 คน  ณ ศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา ชั้น 7 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และจะอบรมนอกสถานที่ในระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2560 ณ ดีอาร์มาน รีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา โดยวันนี้มี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี อดีรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานดำเนินงานโครงการ SMP ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอบรม Basic English for Teachers และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ โดย  ผศ.ดร.สุกินา อาแล ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ โลโก้ (LOGO) โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)

   โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ขอเชิญนักเรียน ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP9 โรงเรียน เข้าร่วมส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ โลโก้ ( Logo) โครงการ SMP ชิงรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

ระยาเวลา
    เปิดรับผลงาน ตั้งแต่วันนี้ – 10 มกราคม 2561
    ประกาศผลการตัดสิน ทางเว็บไซต์ www. Smp-yru-student.blogspot.com ในวันที่ 12 มกราคม 2561

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการ SMP ประชุมเตรียมงานร่วมจัดนิทรรศการวันราชภัฏ


       ช่วงบ่ายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประธานในการประชุมร่วมกับกรรมการบริหารโครงการ SMP เจ้าหน้าที่ และนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ SMP และการจัดแสดงผลงานของนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP ในงานวันราชภัฏ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ณ บริเวณชั้น 2 อาคารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 

       
ชี้แจง และทำความเข้าใจรูปแบบในการจัดนิทรรศการ

       

สอบถาม ติดตาม รายงาน ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานโครงการจากนักวิทยาศาสตร์ที่ประจำโรงเรียนเครือข่าย

          ขอขอบคุณ คณะผู้จัดงานวันราชภัฏ ที่จัดเตรียมพื้นที่ในการจัดนิทรรศการให้แก่โครงการ SMP  ทั้งนี้คณะทำงานมีความตั้งใจที่จะใช้ช่องทางในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ ให้เข้าถึงชุมชนและเป็นที่รู้จักได้มากขึ้น เพื่อที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความสนใจและมีความถนัดในทักษะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมต่อไป

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โครงการ SMP: การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้สู่ Thailand 4.0

      การดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (โปรแกรมวิทย์-คณิต) ให้กับโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษา นับเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายใน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ประกอบด้วย คณาจารย์จากหลักสูตรคณิตศาสตร์  (ค.บ.5 ปี) วิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี) คอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.5 ปี) เคมี (วท.บ.4 ปี) ฟิสิกส์ (วท.บ.4 ปี) ชีววิทยา (วท.บ.4 ปี) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.4 ปี) เทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.4 ปี) และบุคลากรจากศูนย์วิทยาศาสตร์  ร่วมกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 6 โรงเรียน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอที่ดูแลโรงเรียนในโครงการ ผนวกกับนโยบาย
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อวางฐานไปสู่การพัฒนาเป็น "สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้" ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทั้งระบบมุ่งไปสู่การสร้าง Teacher 4.0 และร่วมกับคณะครุศาสตร์ ผลิตบัณฑิตครูนักปฏิบัติการมืออาชีพ ใช้หอพักเป็นฐาน เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีคุณลักษณะและทักษะเหมาะสมกับบริบทจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยมหาวิทยาลัยฯ กำหนดเป็นโครงการยุทธศาสตร์มุ่งเป้า (Flagship Project) ไว้ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560-2569)

   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โครงการ SMP มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ใน 6 โรงเรียนเครือข่าย ทั้งการปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้ใช้การได้อย่างดี เหมาะสำหรับเป็นห้องปฏิบัติการ การจัดหาครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จัดหาสื่อโสตทัศนปกรณ์ หนังสือ และการจัดหาวัสดุ สารเคมีสำหรับการทดลองแต่ละการทดลองตามหลักสูตร ที่สำคัญก็คือ การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบสอนในโครงการ SMP ให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐาน จัดทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์  นำเสนอโครงงานในกิจกรรมวิชาการ โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นโค้ช (Coach) จับคู่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และลงนิเทศก์ในพื้นที่โรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพครูในโครงการ SMP ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการวิจัยติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงโครงการ SMP ในปีต่อไปให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากที่สุด