วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปฏิบัติการชีววิทยา เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด

     วันที่ 18  กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.25 – 14.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ (SMP) โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การตรวจกรุ๊ปเลือด โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์

วัตถุประสงค์
         - เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการจำแนกหมู่เลือดระบบ A,B,O
        - อธิบายการตกตะกอนของเลือดและกระบวนการแข็งตัวปิดปากแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
     - เพื่อศึกษาวิธีการหาหมู่เลือดของตนเอง
กรุ๊ปเลือด
          กรุ๊ปเลือดกรุ๊ปโลหิตหมู่เลือด หรือหมู่โลหิต (Blood group หรือ Blood type) คือ ตัวบ่งบอกความแตกต่างของเลือดซึ่งสามารถทราบได้จากการเจาะเลือดโดยดูจากสารที่มีชื่อว่า “แอนติเจน” (Antigens) เป็นสำคัญ การทราบกรุ๊ปเลือดของตัวเองถือเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือด (Blood Transfusion)
       ปกติแล้วเลือดของมนุษย์จะมีส่วนประกอบ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Rlood Cells), เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells),เกล็ดเลือด (Platelets) และพลาสมาหรือน้ำเลือด (Plasma) โดยความแตกต่างของเลือดที่นำมาระบุกรุ๊ปเลือดจะดูจากสาร 2 ชนิด คือ แอนติเจน (Antigens) และแอนติบอดี (Antibodies) ในเลือด โดยแอนติเจนนั้นคือโมเลกุลของโปรตีนที่พบอยู่ผิวบริเวณด้านนอกของเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนแอนติบอดีจะมีอยู่ในพลาสมาหรือน้ำเลือด
         ทั้งนี้ ความแตกต่างของแอนติเจนในแต่ละคนจะถูกถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม หากพ่อหรือแม่มีกรุ๊ปเลือดใด เด็กก็จะมีกรุ๊ปเลือดเหมือนพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น