วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการเรื่อง ทดลองสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ

    ⇛วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เวลา 10.25-11.45 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาเคมี เรื่อง ทดสอบสมบัติกรด - เบสของสารละลายเกลือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 5/1 (SMP) โดยมีอาจารย์คอลิด  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปการปฏิบัติการ



ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส

            จากทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตตและลาวรี กรด คือสารที่ให้โปรตอน และเบสคือ สารที่รับโปรตอน เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับเบส จึงมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างกรดและเบสนั่นเอง

   ตัวอย่าง  ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH3COOH และเบส NaOH ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH3COONa) และน้ำ
                                   CH3COOH (aq) + NaOH (aq)  CH3COONa (aq) + H2O (l)
ปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสในน้ำนี้จะทำให้สารละลายที่ได้แสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลางได้ ซึ่งพิจารณาได้เป็น กรณี
          1. ในกรณีกรดและเบสทำปฏิกิริยากันแล้วมีกรดหรือเบสเหลืออยู่ ถ้ามีกรดเหลืออยู่สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด ถ้ามีเบสเหลืออยู่สารละลายก็จะแสดงสมบัติเป็นเบส
          2. ถ้ากรดกับเบสทำปฏิกิริยากันหมดพอดี ได้เกลือกับน้ำ สารละลายของเกลือที่ได้จากปฏิกิริยา จะแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือกลาง ขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือนั้นว่ามาจากกรดและเบสประเภทใด ทั้งนี้เพราะเกลือแต่ละชนิดจะเกิดการแตกตัวและทำปฏิกิริยากับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรไลซีส ซึ่งจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติกรด-เบสต่างกัน รายละเอียดอยู่ในหัวข้อต่อไป

ประมวลภาพการทดลอง










⇒จากการทดลอง ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติกรด  - เบสของสารละลายเกลือมากขึ้นและสามารถระบุสมบัติของกรด - เบส ได้

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากครับ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะ สนุกกับการได้ทดลองจริง

    ตอบลบ