วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การขยายตัวของสาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดำรงวิทยา


         วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้มีการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง การการขยายตัวของสาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องโปรแกรม Science Mathematic Ability Program (SMAP) เพื่อเพิ่มทักษะด้านการลงมือทำ เสริมเจตคติที่ดีในด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการในครั้งนี้
วัสดุอุปกรณ์
   1. ลูกโป่ง
   2. น้ำกลั่น
   3. ขวดรูปชมพู่
   4. จุกยางที่มีหลอดแก้ว

วิธีการทดลอง
   1. ใส่น้ำกลั่นลงในขวดรูปชมพู่ จากนั้นนำจุกยางที่มีหลอดแก้วเสียบอยู่มาปิดบริเวณปากขวด ขีดเส้นบอกระดับน้ำในหลอดแก้ว
   2. สวมลูกโป่งปิดปากขวดรูปชมพู่อีกใบหนึ่งที่ไม่มีอะไรบรรจุอยู่ภายในขวด วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขวางบริเวณตรงกลางของลูกโป้ง
   3. นำขวดรูปชมพู่ทั้ง 2 ใบไปแช่น้ำร้อน และสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
   4. ขีดเส้นบอกระดับน้ำในหลอดแก้ว และวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกโป่งอีกครั้งหนึ่ง

อภิปรายผลกิจกรรม
        จากกิจกรรม พบว่า เมื่อนำขวดรูปชมพู่ทั้ง 2 ใบไปแช่ในน้ำร้อน ระดับน้ำในหลอดแก้วของขวดรูปชมพู่ขวดแรกเพิ่มขึ้น ขณะที่ขวดรูปชมพู่อีกใบหนึ่ง พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกโป่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ความร้อนจะทำให้ปริมาตรของของเหลวและแก๊สเพิ่มมากขึ้น โดยหากเปรียบเทียบปริมาตรที่เพิ่มขึ้นแล้ว พบว่า แก๊สสามารถขยายตัวได้ดีกว่าของเหลวที่ได้รับความร้อนปริมาณเท่า ๆ กัน เพราะแก๊สมีแรงดึงดูด ระหว่างโมลกุลน้อยกว่าของเหลว เมื่อได้รับความร้อนโมเลกุลจึงสั่นและเคลื่อนที่ได้มากกว่า ขณะเดียวกันของเหลวมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของแข็ง ของเหลวจึงขยายตัวได้ดีกว่าของแข็ง ดังนั้น แก๊สจึงขยายตัวได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ของเหลว และของแข็ง ตามลำดับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น