วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ร่วมกับผุู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานของโรงเรียนเครือข่าย

            วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสาพร มูหะมัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชนาถ เต็มดี อาจารย์ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย อาจารย์ฐิติรัตน์ นิลวิจิตร และเจ้าหน้าที่โครงการฯ รวมถึงผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าโครงการฯ และคุณครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 โรงเรียนในเครือข่าย กำหนดจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ร่วมกับผุู้บริหารและคณะกรรมการดำเนินงานของโรงเรียนเครือข่าย ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุม (25-201) ผ่านวิดีโอคอนเฟอเร้นซ์ สำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU ระหว่าง มรย.กับโรงเรียนเครือข่าย และการจัดทำแผนพัฒนาคุณครู และนักเรียนในโครงการ SMP-YRU ประจำปีการศึกษา 2566 ของแต่ละโรงเรียน รวมถึงกระบวนการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งจะจัดเวทีการนำเสนอผลการดำเนินงานของห้องเรียน SMP-YRU แต่ละโรงเรียน ที่จะจัดให้มีขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นำเสนองานวิจัยโดยใช้โครงการ SMP-YRU เป็นฐานในงานประชุมวิชาการ INSCIC 2023 I

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงกา SMP-YRU ได้เข้าร่วมงาน ประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ครั้งที่ 8 และงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1 (INSCIC2023) ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และคณะวิทยาการจัดการ ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566  
      สำหรับงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ร่วมนำเสนอบทความวิจัย เรื่อง ารจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้างวิชาชีพในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา ซึ่งเป็นงานวิจัยที่บูรณาการการวิจัยกับการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือโครงการ SMP-YRU เป็นฐานวิจัย ซึ่งได้ดำเนินงานบริการในโครงการ SMP-YRU มาอย่างต่อเนื่อง 8 ปี ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน และมีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 15 โรงเรียน ผลการนำเสนอเสนอ บทความได้รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ "รางวัลชนะเลิศ" การนำเสนอบทความประเภทบรรยาย "ด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"  ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ ยังสามารถนำประเด็นปัญหาจากข้อเสนอแนะไปทำการวิจัยในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในเครือข่าย SMP-YRU ได้อย่างหลากหลายประ เด็น โดยเฉพาะการยกระดับให้เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ให้เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาร่วมกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

      

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการ SMP-YRU ลงพื้นที่ให้กำลังใจนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

            วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. นำโดย ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  ได้ลงพื้นที่ให้กำลังใจนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ระดับนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าศึกษาดูงานด้านการเกษตรสมัยใหม่ และด้านพลังงานทดแทน ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จำนวน 111 คน มีโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วม จำนวน 2 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ และ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสัตวศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม เพื่อเพิ่มทักษะ เจตคติที่ดี และเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากฐานการเรียนรู้ สามารถนำมาบูรณาการในรายวิชา เพื่อต่อยอดและสร้างสรรค์ด้านวิชาการต่อไป รวมถึงการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปต่อยอด และการตัดสินใจศึกษาต่อ ของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับวิทยากรจากหลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (https://science.yru.ac.th/agriculture2016/) หลักสูตรสัตวศาสตร์และธุรกิจปศุสัตว์ (https://science.yru.ac.th/animalsci2016/) หลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานทดแทน (https://science.yru.ac.th/energy/) หลักสูตรสาขาวิชาการประกอบอาหารฮาลาล (https://science.yru.ac.th/halalculinary/) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและความงาม (https://science.yru.ac.th/cosmetic/)  ทั้งนี้ นับเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาแกนในสาขา โดยมีนักศึกษาร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากร โดยนำทักษะและความรู้จากชั้นเรียนสู่การปฏิบัติ





วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU และสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซียลงพื้นที่โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ และโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา

คณะผู้บริหารโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. ที่ผ่านมาคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานดำเนินงานโครงการ อาจารย์ ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย และเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยวิจัย ลงพื้นที่โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา และโรงเรียนดารูลฮูดาห์วิทยา ต.วังพญา อ.รามัญ จ.ยะลา เพื่อพบปะผู้บริหารโรงเรียน คณะครูโครงการ SMP-YRU ของโรงเรียน เป็นกิจกรรมติดตามผลดำเนินงานของโรงเรียนทุกปีและร่วมกันดำเนินการตรวจรับวัสดุครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ประจำปีของโรงเรียน
คณะผู้บริหารโรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์

       พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้แทนจากสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซีย ร่วมลงพื้นที่ทั้งสองโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการ เพื่อประชาสัมพันธ์การสมัครขอรับทุนศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียหลายแห่ง ที่เสนอให้ทุนการศึกษาแบบให้เปล่า นับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายแหล่งทุนสนับสนุนให้นักเรียนในโครงการ SMP-YRU และเป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีบริบท สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับบริบทในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จะเป็นช่วงรับสมัครและเสนอข้อมูลประกอบ นักเรียนในโครงการ SMP-YRU ทุกโรงเรียน ที่สนใจศึกษาต่อประเทศอินโดนีเซีย ติดตามและติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ Fan Page ของสมาคมศิษย์เก่าไทยอินโดนีเซียได้ที่ https://www.facebook.com/people/Persatuan-Alumni-Indonesia-Thai-Persait/100063499305577

 

  



วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สอบคัดเลือก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 ณ โรงเรียนเครือข่าย

        
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00 - 16.30 น. ทางโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ได้กำหนดจัดสอบคัดเลือก นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 (รุ่นที่ 7)  ประจำปีการศึกษา 2566 ณ โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 14 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอบคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP-YRU ภายใต้กำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยทำการสอบ 4 วิชา ดังนี้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ :ซึ่งในปีนี้มีนักเรียนที่สนใจสมัครสอบคัดเลือก จำนวนทั้งหมด 818 คน จากโรงเรียนในเครือข่าย โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นผู้ออกข้อสอบ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการสอบเข้าเรียนต่อในโครงการ SMP-YRU ในครั้งนี้




วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

งานมหกรรมวิชาการโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ภายใต้โครงการอุทยานความคิด



>>> โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ยะลา <<<
    นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ได้ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมวิชาการโรงเรียน ภายใต้โครงการอุทยานความคิด โดยเปิดห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐานกิจกรรมมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นักเรียนในโครงการ SMP-YRU โรงเรียนดำรงวิทยา ไปทัศนศึกษา ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดสงขลา


        เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (SMP - YRU) โรงเรียนดำรงวิทยา ได้ไปทัศนศึกษา ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดสงขลา โดยมีกิจกรรมการเยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และการแสดง Science Show เพื่อเปิดโลกทัศน์ เปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้นอกห้องเรียน และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ของนักเรียน เพื่อต่อยอด รังสรรค์ และประยุกต์ใช้ในรายวิชาในอนาคตต่อไป

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำ portfolio ด้วย Canva สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

          วันที่ 3 กุมภา 2565 เวลา 09.00-16.00 น. จัด"อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ด้วยแอปพลิเคชัน  Canva.com สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จำนวน 29 คน และโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ตำบลบาโงบซิแน อำเภอยะหา จำนวน 35 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบกลาง (TCAS) ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (25 - 605) อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย  นามบุรี เป็นประธานฯ โดยมีนายไฮดี แวเด็ง เป็นวิทยากร พร้อมด้วย นางสาวสุณีย์ ตอแลมา และนางสาวฮาลีเมาะ เลาะแม เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในครั้งนี้


ตัวอย่างผลงาน