วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


            เมื่อวันที่ 5 เดือนตุลาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีอาจารย์
นูรมา สะบือลา เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1. ทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้นข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่อต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. อธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว และอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 11.05-12.25 น  ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีอาจารย์คอลิบ  หะยีมูหิ เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมีและนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

โครงสร้างภายในของราก





        เมื่อวันที่​ 4 ตุลาคม 2563 เวลา11.05-12.25 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง โครงสร้างภายในราก โดยมีอาจารย์อาแอเสาะ เจะหวันเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีวะวิทยา

การทดลองศึกษาการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก

       วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนเป็นผู้ช่วยในการสอนปฏิบัติการ

กิจกรรมการทดลองผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล

    


      เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 14.20 - 15.50 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) คุณครูผู้สอนนางสาวสุไวบ๊ะ สาเม๊าะ และนักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน เรื่องการทดลองผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล
จุดประสงค์การทดลอง
1.ทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารต่อสมดุล

2.อธิบายการเปลี่ยนแปลงสมดุล เมื่อมีการเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์

ผลการทดลอง

หลอดที่

สารที่เติม

การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้

หลังเติมสาร

วางไว้ 1 นาที

1

น้ำกลั่น

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน

สารละลายมีสีม่วงน้ำเงิน

2

HCl

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีม่วงน้ำเงิน

สารละลายมีสีม่วงแดง

3

NaOH

สารละลายเปลี่ยนสีจากม่วงเป็นสีน้ำเงิน

สารละลายมีสีน้ำเงิน

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ "

      เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2563 เวลา 08:30 น.-16:30 น. ณ ห้องประชุม โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้จัด กิจกรรม "สัมมนาโครงงานวิทยาศาสตร์ " โดยนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP ชั้นมัธยมปีที่ 6 นักเรียนรุ่นที่ 3 ในโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานและนำเสนอโครงงานของแต่ล่ะกลุ่มที่ได้ดำเนินการมา และได้ฝึกประสบการณ์การนำเสนอ  โดยในกิจกรรมมีนักเรียน SMP ชั้นมัธยมปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมรับฟังในการนำเสนอในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้และตัวอย่างในการดำเนินการทำโครงงานให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป 

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์

 


            เมื่อวันที่​ 30 กันยายน​ 2563 เวลา11.05-12.25 น.ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP) อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง การใช้และดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ โดยมีอาจารย์
อาแอเสาะ เจะหวันเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีวะวิทยา

คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU ประชุมเตรียมดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันพุธที่ 30 กันยายน 2563 คณะกรรมการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program, Yala Rajabhat University: SMP-YRU) โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ประธานคณะทำงานประชุมเพื่อเตรียมการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งดำเนินการในโครงการ SMP-YRU มาเป็นปีที่ 6 อย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้

   สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับงบประมาณตามแผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นงบลงทุนและสิ่งก่อสร้างเพื่อการปรับปรุงห้องปฏิบัติการในโรงเรียนเดิมรุ่นแรก จำนวน 6 โรงเรียน เน้นการปรับปรุงให้ห้องปฏิบัติการให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใน 6 โรงเรียนเดิม ในรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ 2559 ทั้งนี้ ให้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนชั้น ม.4-ม.6 สร้างโอกาสทางการศึกษาต่อปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นกำลังสำคัญของ Thailand 4.0 

               

      อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดพัฒนาห้องเรียน SMP-YRU อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง จะดำเนินการสนับสนุนการพัฒนานักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีข้อจำกัดงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้  เน้นการจัดกิจกรรมค่ายพัฒนานักเรียนที่มหาวิทยาลัย ได้แก่ ค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายไอที เป็นต้น

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการที่ 4 สีของสารประกอบ และกิจกรรมที่ 2.5 การทดลองการเกิดปฏิกริยาเคมีกับน้ำ

      
     เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนสุขสวัสวัสดิ์วิทยา อาจารย์อิลฮาม อับดุลเลาะ ครูผู้สอนในรายวิชาเคมี ได้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการเคมี เรื่องสีของสารประกอบ และการทดลองการเกิดปฏิกริยาเคมีกับน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเตรียมอุปกรณ์สารเคมีและควบคุมดูแลการทดลอง

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

โครงการเพิ่มสมรรถนะ​ด้าน​บริหาร​และจัดการ​พลังงาน​ครบวงจร​ในชุมชน​ระดับ​ตำบลและเครือข่าย​พลังงาน​ชุมชน​ และรณรงค์​ประชาสัมพันธ์​การอนุรักษ์​พลังงาน​

 


       เมื่อวันที่​ 21​ กันยายน​ 2563 ณ ห้องประชุมลุตฟีย์ อาคารลุตฟีย์ ชั้น 2 โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา สำนักงานพลังงานจังหวัดยะลา ได้จัดโครงการเพิ่มสมรรถนะ​ด้าน​บริหาร​และจัดการ​พลังงาน​ครบวงจร​ในชุมชน​ระดับ​ตำบลและเครือข่าย​พลังงาน​ชุมชน​ และรณรงค์​ประชาสัมพันธ์​การอนุรักษ์​พลังงาน​(ประเภท​โรงเรียน​พลังงาน​ชุมชน​) โดยมีนายนิเซะ  กาเดร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานพลังงานจังหวัดยะลา เป็นวิทยากร ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP โดยรูแบบกิจกรรมนันทนาการ  นำเสนอข้อมูลการพลังงานในโรงเรียน เทคโนโลยีทดแทนระดับชุมชน 

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

กิจกรรม "จิตอาสา พัฒนาศาสนสถาน "

       เมื่อวันที่  22 เดือนกันยายน พ.ศ.2563 โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี6 (SMP) จัดกิจกรรม  "จิตกรรมพัฒนาศาสนสถาน ณ มัสยิมอัล-มูตตาหีดาตูลอีสลามียะห์ โปโหนมาจัง (จืองา) " 

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง การศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ

           

           เมื่อวันที่ 23 เดือนกันยายน 2563 เวลา 19.00 - 21.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง การศึกษาการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1. ทำการทดลองเพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีระหว่างโซเดียม แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสีกับน้ำ
2. เปรียบเทียบความว่องไวในการทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำของธาตุหมู่ IA IIA และธาตุทรานซิชัน
3. ระบุสมบัติความเป็นกรดและเบสของสารละลายที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมี

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

กิจกรรม "ทัศนศึกษาศูนย์การเรียนรู้ กฟพ จะนะ"

          เมื่อวันที่ 18 เดือนกันยายน 2563 โรงเรียนตาร์เบีตตุลวาตันมูลนิธิ ได้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (SMP) และชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 (mini smp) ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟพ จะนะ โดยตั้งอยู่ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (โรงไฟฟ้า จะนะ) 

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

โครงการ '' ประดิษฐ์สายคล้องหูหน้ากากอนามัย" จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลบันนังสาเรง

     เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563  ทีมงานวิศกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำตำบลบันนังสาเรง ได้จัดโครงการ'' ประดิษฐ์สายคล้องหูหน้ากากอนามัย"  ณ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ SMP  โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลธินิ ต.บันนังสตา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ห้องเรียนพิเศษ SMP เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน
   

โครงการแนะแนวศึกษาต่อสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMP) โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลบาโงยซิแน

     เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2563 วิศกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำตำบลบาโงยซิแน จัดโครงการแนะแนวศึกษาต่อสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMP) ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ห้องเรียนพิเศษ SMP เข้าร่วมโครงการจำนวน 37 คน

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Robolnnovator Challenge 2020 by Software park Thailand





            ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2563 นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เข้าร่วมแข่งขัน การแข่งขัน Robolnnovator Challenge 2020 by Software park Thailand ทีมระดับมัธยมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปฏิบัติการ เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ

       วันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 11.05-12.25 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้น    มัธยมศึกษาปีที่ 4/1 (SMP) เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ โดยมีอาจารย์วนิดา เหาะแอเป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาเคมี


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563

นักเรียนโครงการห้องเรียน SMP เข้าร่วมนำเสนองานโครงงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ณ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ



     เมื่อวันที่  10 กันยายน 2563 นักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้เข้าร่วมนำเสนอโครงงานในงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการ ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุมเคมียาเวส โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

โครงการ '' ถังขยะจากขวดพลาสติก" จัดโดย : วิศกรสังคม มรย. ประจำตำบลวังพญา

 

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563  ทีมงานวิศกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำตำบลวังพญา ได้จัดโครงการ'' ถังขยะจากขวดพลาสติก"  ณ ห้องประชุมฟิรดาวซ์ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ห้องเรียนพิเศษ SMP เข้าร่วมโครงการจำนวน 36 คน

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ในโครงการ SMP YRU โรงเรียนดำรงวิทยา

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 เวลา 10.00 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนดำรงวิทยา ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ในโครงการห้องเรียนพิเศษ (Science Mathematics Program : Yala Rajabhat University : SMP YRU) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2563 โดยได้ความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP YRU เข้าร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้
         กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนในโครงการ SMP YRU ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 40 คน โดยกิจกรรมจะเปิดวิดีทัศน์แนะนำโครงการ วิดีทัศน์แนะนำสายงานอาชีพที่เกี่ยวข้อง บรรยายความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรมที่นักเรียนในโครงการต้องเข้าร่วม เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักโครงการ SMP YRU มากยิ่งขึ้น มีกิจกรรมสันทนาการ เกมส์พิศวงปลายปากกา เพื่อให้นักเรียนได้ละลายพฤติกรรมและเข้าสู่บทเรียนรู้จักทักษะทางวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ปิดท้ายด้วยกิจกรรมระดมความคิดเห็นของนักเรียนในหัวข้อ “ความคาดหวังที่มีต่อโครงการ” เพื่อรับรู้และรับทราบจุดประสงค์ของนักเรียนในการเข้าร่วมในโครงการ SMP YRU

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร


          วันที่ 1 กันยายน 2563 เวลา 14.20 – 15.40 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวนิฮามูนี นิกาจิ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์อาหารและยา ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง วิธีการตรวจสอบสารอาหาร ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ในการทดลอง

โครงการ SMP-YRU พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งรายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

การดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในโครงการ SMP-YRU ซึ่งเริ่มดำเนินงานโครงการภายใต้แผนบูรณาการการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในแนวทางการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการร่วมกับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ในพื้นที่ 12 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการ โต๊ะเก้าอี้ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ เครื่องมือทดลอง วัสดุการทดลอง สื่อโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่เน้นการปฏิบัติในห้องทดลอง (Lab) ให้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งด้านความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผ่านกระบวนการของค่ายพัฒนาในแต่ละด้าน 

        รูปแบบการพัฒนานักเรียนในโครงการ SMP-YRU มุ่งเน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ให้โอกาสผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทดลอง การทำโครงงาน (Project) ด้านวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในโครงการยังคงมีปัญหาของการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการ (Lab) ไม่ครบถ้วน เนื่องจากครูมีเวลาไม่เพียงพอ ครูขาดทักษะในการทดลอง นักเรียนมีเวลาในห้องปฏิบัติการน้อย จากการสำรวจครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งออนไลน์ ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาการทดลอง ขั้นตอนการทดลองมาก่อนโดยการศึกษาด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์ ก็จะทำให้สามารถลดเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติ สามารถทดลองและรายงานผลการทดลองได้ทันเวลา  โดยส่งรายงานผ่านทางออนไลน์ในระบบอิเลิร์นนิ่ง ผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น

      อย่างไรก็ตาม รายวิชาที่ผู้สอนเห็นว่ามีความจำเป็น เป็นพื้นฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ที่ควรพัฒนาเป็นรายวิชาในระบบอีเลิร์นนิ่งได้แก่ รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกเนื้อหาปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 เรื่อง ตามที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสำคัญมากสุดตามลำดับ ซึ่งทีมงาน SMP-YRU โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะทำงานได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอมาผนวกเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (Courseware)  เพื่อให้นักเรียนระดับชั้น ม.4  หรือครูผู้สอนเข้ามาเรียนรู้ ก่อนทำการทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป    













วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส


           วันที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โรงเรียนดำรงวิทยา นางสาวกอรีเย๊าะ มะนาฮา ครูผู้สอนรายวิชาเคมี ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีเรื่อง การทดลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส ให้กับนักเรียนในโครงการ SMP ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

โครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา

       

        วันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมลุตฟีย์ ชั้น 2 อาคารลุตฟีย์ โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ได้มีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องกฎหมายและการขับขี่อย่างปลอดภัยในสถานศึกษา จัดโดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ซึ่งมีวิทยากรจากบริษัทฮอนด้ายะลาให้ความรู้

บทปฏิบัติการ เรื่องลูกตุ้มอย่างง่าย

       วันที่ 27 สิงหาคม  2563 เวลา 10.25-11.45 น ณ.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โครงการห้องเรียนพิเศษ(SMP)โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 (SMP) เรื่อง ลูกตุ้มอย่างง่าย โดยมีอาจารย์อสุรินทร์  มะเด็ง เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน


    เมื่อวันที่ 25 เดือนสิงหาคม 2563 เวลา 16.30 - 18.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ SMP โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการวิชาเคมี เรื่อง สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีอาจารย์ซารีฟะห์ อาวัง เป็นอาจารย์ประจำวิชาเคมี และมีนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ช่วยแลปปฏิบัติการกับนักเรียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

หลักการ
    สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4

สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ ดังนี้
1) การละลายน้ำ
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว
2) การเผาไหม้
เมื่อพิจารณาการเผาไหม้ ปรากฏว่า เฮกเซนติดไฟให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ส่วนไซโคลเฮกซีนติดไฟง่ายให้เปลวไฟสว่างมีเขม่าและเบนซีนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างมีควันและเขม่ามาก เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าพิจารณาอัตราส่วน C : H ในแต่ละสารจะได้
   
                                การละลายน้ำ                                                                  การเผาไหม้

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา


            เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.40 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์


          การกลั่น (Distilation) คือ กระบวนการแยกสารละลายที่เป็นของเหลวหรือทำสารให้บริสุทธิ์ (Purification) จากสารละลายผสม โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน เพื่อทำให้สารละลายหรือตัวทำลายหนึ่งระเหยกลายเป็นไอ จากนั้นไอจะเกิดการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิต่ำ จึงเกิดการควบแน่นกลับเป็นของเหลวอีกครั้งในภาชนะอื่น การกลั่น เป็นกระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตน้ำมัน (Gasoline) และน้ำมันเชื้อเพลิง (Kerosene), การผลิตน้ำกลั่น, การแยกตัวทำละลายอินทรีย์ ฯลฯ

กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ปีการศึกษา 2563


         
         วันที่ 23 สิงหาคม 2563 เวลา 10.30 - 12.00 น.โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา จัดกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP-YRU ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ประจำปีการศึกษา 2563 ณ อาคารลุตฟีย์ ชั้น 4 ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์โครงการ SMP โดยมีอาจารย์ ตอเละ ยูโซ๊ะ ต้อนรับนักเรียนใหม่ ในโครงการ SMP-YRU จำนวน 36 คน พร้อมมอบกระเป๋าเป็นที่ระลึกจากโครงการ SMP-YRU  เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย
      
        ซึ่งในการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศครั้งนี้  สร้างความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ SMP และรวมไปถึงการปฏิบัติตัวระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมที่โครงการจัด
จากเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการ เรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์

         ➽วันที่ 24  สิงหาคม 2563 เวลา 14.45 - 16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโครงการห้องเรียนพิเศษSMP โรงเรียนตาร์เบียตุลวาตันมูลนิธิ ได้มีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาชีววิทยาเรื่อง ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี่ 4/1 (SMP) โดยมีอาจารย์อามานี วอลีมาแย เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำวิชาชีววิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การตกผลึก ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดำรงวิทยา



        วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 – 14.20 น. ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำรงวิทยา นายอับดุลเลาะ ลีลาตานา ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง การตกผลึก ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยมีเจ้าหน้าที่นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์

การตกผลึก คือ ปรากฏการณ์ที่ของแข็งที่เป็นตัวละลายแยกออกจากสารละลายอิ่มตัว เมื่อสารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลง ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว จะเกิดผลึกที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าสารละลายอิ่มตัวเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ จะเกิดผลึกที่มีขนาดใหญ่ ผลึกที่สมบูรณ์ของสารต่างชนิดกันจะมีรูปทรงที่แตกต่างกัน

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ลงพื้นที่ติดตามตรวจงานพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

 

วันที่ 6 - 7 สิงหาคม 2563 ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และคณะกรรมโครงการห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP)  อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นายเฮลมี่ แวนามะ ช่างเขียนแบบ นายฮาริซ ลาเต๊ะ ช่างเขียนแบบ นายซาฟาริ อุจามิ วิศวกรโยธา  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ติดตามตรวจงานพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โรงเรียนดารุลฮูดาห์วิทยา โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา 

        โครงการ SMP ได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงห้องเรียนวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์โรงเรียนเครือข่าย โครงการ SMP จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและมีความสนใจ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนสามมารถนำความไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และการนำความรู้ไปใช้ขั้นสุดท้ายในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีบทบาทเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการวิจัย คิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เสริมกำลังบุคลากรที่สำคัญและขาดแคลนในการพํฒนาประเทศ ได้แก่ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ นักเทคโนโลยีและนักสารสนเทศ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


        วันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2563 ณ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธี การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประเภท รวบรวมข้อมูล และประเภท ประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่ายโครงการ SMP  การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ใช้ทักษะการนำเสนอโครงงานอย่างมืออาชีพ รวมถึงการอยู่รวมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนคัมภีร์วิทยา


        วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 - 15.00 น. โรงเรียนคัมภีร์วิทยา จัดกิจกรรมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ (ภายใน) ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science Mathematics Program Yala Rajabhat University : SMP YRU) ณ ห้องคณิตศาสตร์ โดยมีนายซัลมาน ผดุง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน กล่าวเปิดพิธี และได้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ในโครงการ SMP-YRU เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจกระบวนการการทำโครงงาน