วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

รายงานตัวและปฐมนิเทศนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP


วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก (ชั้น1 ห้อง108 อาคาร 5) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  คณะกรรมการโครงการ SMP จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักวิทยาศาสตร์ ประจำโครงการ SMP ใหม่ จำนวน 7 คน ซึ่งจะปฏิบัติงานในพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน รวมทั้งที่ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์การต้นแบบที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาด้วย 
   กิจกรรมปฐมนิเทศ มีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี  รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะกรรมการประจำโครงการ SMP กล่าวตอนรับและเล่าถึงความเป็นมาของโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) กิจกรรมต่างๆ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ รวมทั้งภาระหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559 เป็นต้นไป จนเสร็จสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้ คือร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาและจัดการเรียนการสอนห้องเรียนส่งเสริมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเจตคติ รักการเรียนวิทยาศาสตร์ เน้นทักษะการปฏิบัติ การทดลอง การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน โดยอาศัยทักษะการสอนของผู้สอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากโครงการ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ประกาศผลการสอบคัดเลือกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


เอกสารแนบ 12ม.ค.59ผลการสอบคัดเลือกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผู้ผ่านการคัดเลือกรายงานตัวและปฐมนิเทศในวันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น1 ห้อง108 อาคาร5 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
หมายเหตุ ให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงการ SMP สอบสัมภาษณ์บุคลากรนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนเครือข่าย

โครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานประจำโครงการฯ ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานในหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการโรงเรียนเครือข่าย และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสานงานโครงการ ติดตามประเมินผลโครงการ
       สำหรับเป้าหมายของโครงการ SMP YRU ที่สำคัญ คือ การร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาห้องเรียนต้นแบบด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา  6 โรงเรียน ได้แก่   (1) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง (2) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน (3) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ปะแต อ.ยะหา (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต และ (6) โรงเรียนดำรงวิทยาต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จังหวัดยะลา สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สนใจเรียนและสมัครศึกษาต่อในสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล หรือสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาของพื้นที่สามจังหวัดที่ปัจจุบันยังมีผู้สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์น้อยมาก

    สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าหน้าที่ประจำโครงการคัดเลือกจากคุณสมบัติที่เหมาะสม ได้แก่ มีประสบการณ์ในการดูแลห้องปฏิบัติการ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานในพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายได้ และผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการปฐมนิเทศและฝึกอบรมความรู้และทักษะในการเตรียมการทดลอง (Lab) วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนและเป็นที่ปรึกษานักเรียนในการทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และที่ปรึกษาการทดลองในห้องปฏิบัติการของนักเรียนในโครงการต่อไป


วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP นำเสนอแนวคิดโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560



               
 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการได้นำเสนอโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลาในปีงบประมาณ 2560






  
ซึ่งโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของ มรย. เสนอให้ดำเนินการต่อปีงบประมาณต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ การดำเนินโครงการนี้ในปีการศึกษา 2560

ดูภาพเพิ่มเติม
เพื่อพัฒนานักเรียนในชั้น ม. 5 ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ด้วยทรัพยากรที่ได้สร้างไว้แล้ว จึงจะเปิดรับนักเรียนชั้นเรียน ม. 4 ใหม่เพิ่มขึ้นในโรงเรียนเดิมอีกโรงเรียนละ 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 40 คน  รวมเป็นโรงเรียนละ 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 80 คน และจะเพิ่มกิจกรรมสำหรับนักเรียนห้อง SMP เพิ่มขึ้นจากเดิมปีประมาณ พ.ศ.2559 เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม










วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP มรย.นำเสนอกรอบแนวคิดโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมกลั่นกรองการเสนอกรอบแนวคิด โครงการและกิจกรรมเพื่อเสนอของบประมาณโครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  โดยสอดคล้องตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ โดยกรอบแนวคิดของโครงการที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ที่สอดคล้องกับพันธกิจและกรอบนโยบายการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาเยาวชน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านการสื่อสารเพื่อสันติภาพและสันติสุข ซึ่งคณะกรรมการได้นำเสนอโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลา

     กรอบความคิดของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของ มรย. เสนอให้ดำเนินการต่อปีงบประมาณต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ โดยขยายจำนวนนักเรียนใหม่ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีนักเรียนระดับชั้น ม.5 รหัสนักเรียน 59 จำนวน 240 คน (6 โรงเรียน ๆ ละ 40 คน) และรับนักเรียนใหม่ระดับชั้น ม.4 รหัส 60 จำนวน 240 คน (6 โรงเรียน ๆ ละ 40 คน) รวมสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 480 คน โดยงบประมาณเน้นไปในด้านการพัฒนาศักยภาพครู กิจกรรมพัฒนานักเรียน สร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP ร่วมประชุมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย มนร. และ มอ.ปัตตานี





      เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 
ร่วมประชุมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  







ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยมีการรายงานความคืบหน้า
ของโครงการ SMPและร่วมกันปรึกษาหารือ
ถึงแบบแผนในการดำเนินงานต่อไปในงบ
ประมาณปี 60 เพื่อให้โครงการ SMP เป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน โดยจะต้องทำแผน (ปฏิทินในการดำเนินงาน) ของทั้ง 3 มหาวิทยาลัยเพื่อหาภาพรวมของงบประมาณปี 59 ร่วมกัน

ดูภาพเพิ่มเติม



                         

ประชุมคณะกรรมการมอบหมายภารกิจในการดำเนินงานโครงการ SMP

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เร่งดำเนินงานในโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือ โครงการ SMP  ซี่งมีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเครือข่าย จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่
   การประชุมครั้งนี้ เป็นการมอบหมายภารกิจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ โดยเฉพาะกิจกรรมในการจัดหาครุภัณฑ์และการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้งห้องปฏิบัติการต้นแบบ และห้องปฏิบัติการประจำโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้พร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนได้ทัน ในปีการศึกษา 2559 ซึ่งมีเป้าหมายรับนักเรียนใหม่ โรงเรียนละ 1 ห้อง ห้องละ 40 คน รวมจำนวน 240 คน
 





วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประชุมคณะกรรมโครงการ SMP เตรียมการเสนอโครงการดำเนินการต่อเนื่องปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ดูภาพเพิ่มเติม...
     เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมประชุมเพื่อเตรียมดำเนินงานเสนอโครงการปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติมหาวชิราลงกรณ (อาคาร 20)
      การประชุมครั้งนี้ มี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะกำกับการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร


      สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โครงการ SMP มีเป้าหมายดำเนินงานต่อเนื่องโดยเพิ่มจำนวนห้องเรียนในระดับชั้น ม. 4 เป็นรุ่นที่ 2 มีเป้าหมายดำเนินงานพัฒนานักเรียนจำนวน 240 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ




   

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU มรย. ประชุมเตรียมเสนอโครงการ ปีงบประมาณ 2560

       คณะกรรมการดำเนินงานในโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือโครงการ SMP มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการในปี พ.ศ. 2559 และปรึกษาหารือเพื่อเตรียมเสนอโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ให้เป็นโครงการที่ต่อเนื่อง
      สำหรับในปีงบประมาณ 2560 นี้ โครงการ SMP ยังคงดำเนินงานกิจกรรมคล้ายกับปี 2559 เพียงแต่เพิ่มนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ระดับชั้น ม. 4  เป็นรุ่นที่ 2 จำนวน 260 คน (โรงเรียนละ 40 คน) รวมกับรุ่นแรก ที่จะรับเข้าเรียนในปีการศึกษา 2559 นี้ อีกจำนวน 260 คน รวมทั้งหมด จำนวน 520 คน ซึ่งจะเข้าเรียนในโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 6 โรงเรียน ทั้งนี้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ มีความสนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งขาดแคลนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ในขณะนี้




วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP-YRU ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพัฒนาห้องเรียน

วันที่ 13 สิงหาคม 2558 ช่วงเช้าคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU นำโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะกำกับการบริหารคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
คณะกรรมการ SMP-YRU ประชุมร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน
สุทธิศาสตร์
และการเกษตร ร่วมกับคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ลงพื้นที่โรงเรียน
เครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการจัดตั้้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือ ห้องเรียน
SMP โดยเริ่มจากการลงพื้นที่โรงเรียนสุทธิศาสตร์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา โดยมีอาจารย์ใหญ่ให้การต้อนรับด้วยความอบอุ่น
    สภาพทั่วไปของโรงเรียนสุทธิศาสตร์ จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จำนวน 1 ห้อง  แต่ขาดอุปกรณ์ทดลองและวัสดุจัดการเรียนการสอน อีกทั้งครูขาดการพัฒนาในการจัดการเรียนรู้การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ สำหรับห้องเรียนที่จัดเตรียมในการพัฒนาห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มีขนาดเพียงพอที่จะพัฒนา
   ในช่วงบ่ายลงพื้นที่โรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง มีการจัดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ แต่ยังขาดการพัฒนาอย่างเด่นชัด สภาพห้องเรียนที่ยังขาดอุปกรณ์และสื่อวัสดุสำหรับการเรียนการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ร่วมประชุมกับคณะผู้บริหารโรงเรียนดำรงวิทยา อ.บันนังสตา จ.ยะลา
สภาพห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โรงเรียนสุทธิศาสตร์ ต.บ้านแหร
อ.ธารโต จ.ยะลา ก่อนปรับปรุง