วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประชุมทบทวนปรับปรุงหลักสูตรสำหรับห้องเรียน SMP ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย

       เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559   เวลา 09.00 - 12.00 น. คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดตั้งห้องเรียน SMP ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งอาจารย์และนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการได้
ร่วมประชุมกับคณะกรรมการโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ซึ่งทั้ง 3 มหาวิทยาลัยมีนำเสนอการรายงานความคืบหน้าของโครงการ SMP ของแต่ละมหาวิทยาลัย และร่วมปรึกษาหารือการพัฒนาและการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่จะปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนห้องเรียนพิเศษ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2559 นี้ 
                                                                                                                                                             


วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยเครือข่ายประชุมเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ SMP และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสภาฯ คณะกรรมการโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ทั้งจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดประชุมร่วมกัน เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ SMP พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคการดำเนินที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของโครงการ SMP 
    กิจกรรมการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุม และให้โอวาทแก่คณะทำงานโครงการ SMP จากทั้ง 3 มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งมติการประชุมร่วมกันดังกล่าว เห็นควรให้พัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดการเรียนการสอนในโครงการ SMP เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และร่วมกันทำกิจกรรมของโครงการ ที่สามารถดำเนินการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เพื่อประหยัดเวลาและลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกัน

        ในการประชุม ตัวแทนคณะทำงานโครงการ SMP ได้ร่วมกันนำเสนอความก้าวหน้าของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และกิจกรรมที่วางแผนให้เกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ความร่วมมือ และแนวทางการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้โครงการ SMP ของจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสก้าวไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างประโยชน์แก่นักเรียนและนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป





วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คณะกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ SMP สำหรับปีการศึกษาที่ 1/2559

 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 คณะกรรมการบริหารโครงการ SMP ร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการโครงการ SMP ครั้งที่ 2/2559 กับตัวแทนจากโรงเรียนเครื่อข่ายในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้ง 6 โรงเรียนได้แก่
1.โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ ต.บาลอ อ.รามัน 
2.โรงเรียนสุทธิศาสน์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต
3.โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา 
4.โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง 
5.โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 
6.โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแต อ.ยะหา จังหวัดยะลา                                                                       
เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ SMP สำหรับปีการศึกษาที่ 1/2559 ทั้งนี้ยังได้ร่วมหารือในประเด็นเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนของโครงการ SMP โดยมีตัวแทนจากสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดยะลา และตัวแทนจากสำนักงานการศึกษา เขต12่ ร่วมให้คำแนะนำโครงสร้างหลักสูตรสำหรับนักเรียนโครงการ SMP
             

               


วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

คณะกรรมการโครงการ (SMP) ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโรงเรียนเครือข่าย 6 โรงเรียน


วันที่ 27 มกราคม 2559  ที่ผ่านมา คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ SMP-YRU  ร่วมกับคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และคณิตศาตร์ของโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาปรับแบบก่อสร้าง สำหรับการปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของแต่ละโรงเรียนให้มากที่สุด  สำหรับพื้นที่โรงเรียนที่ได้เข้าไปสำรวจและเยี่ยมชม ได้แก่ 

1.โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์บาลอ ต.บาลอ อ.รามัน 
2.โรงเรียนสุทธิศาสน์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต
3.โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จังหวัดยะลา
และใน วันที่ 28 มกราคม 2559  คณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายอีกครั้ง โดยตรวจเยี่ยมโรงเรียน ได้แก่ 

1.โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง 
2.โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง 
3.โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ต.ปะแต อ.ยะหา จังหวัดยะลา

    ผลการตรวจเยี่ยม พบว่า สภาพทั่วไปของโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน มีการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อยู่แล้ว และมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จำนวน 1 ห้อง  แต่ส่วนใหญ่ ยังขาดอุปกรณ์ทดลองและวัสดุจัดการเรียนการสอน อีกทั้งครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ยังขาดการพัฒนาเทคนิคและทักษะในการจัดการเรียนรู้ การทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับอาคารและห้องเรียนที่โรงเรียนได้จัดเตรียมในการพัฒนาห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มีขนาดเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็นห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ได้ สามารถรองรับการเรียนการสอนในโครงการ SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 นี้                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            







วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

มรย.จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจข้อตกลง (MoU) ร่วมกับสำนักงานการศึกษาเอกชนและโรงเรียนเครือข่ายในโครงการ


ภาพเพิ่มเติม
วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 11.00 น. โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP-YRU) ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมลงนามบันทึกความเข้าใจข้อตกลง (MoU) ร่วมกับสำนักงานการศึกษาเอกชนและโรงเรียนเครือข่ายในโครงการทั้ง 6 โรงเรียน ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นายพิเชษฐ์ เจ้ยทองศรี ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา นายมะสบรี ฮารี ผู้อำนวยการโรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา นายอาหามะรูยามี มูยุ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนมะอาหัดอิสลามมียะห์ นายรอซี เบ็ญสุหลง ผู้อำนวยการโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ นางสาวนูรียะห์ เตาะสาตู ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ นางสาวซากีย๊ะ อาบู ผู้อำนวยการโรงเรียนสุทธิศาสน์ และนายมารูดิง เจ๊ะมิง ผู้จัดการโรงเรียนดำรงวิทยา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MoU) การดำเนินงานร่วมกันในโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลา ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย และสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และมี อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หัวหน้าโครงการ นายวิทยาศิลป์ สะอา รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา รองศาสตราจารย์ ดร.อับดุลนาเซร์ หะยีสาเมาะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และนายอัชลัม เบ็ญสุหลง รองหัวหน้าวิชาการสามัญโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมกับผู้มีเกียรติ  โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี นำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานของโครงการ [สไลด์นำเสนอโครงการ  PDF]

      สำหรับเป้าหมายของการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเป้าหมายพื้นที่จังหวัดยะลาครั้งได้แก่ การร่วมกันศึกษารูปแบบการบริหารและการจัดห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science Mathematics Program : SMP) ที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญในจังหวัดยะลา การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ต้นแบบสำหรับรองรับการจัดฝึกอบรมปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนเครือข่าย ณ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนห้องเรียน SMP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเริ่มในปีการศึกษา 2559 เป็นรุ่นแรก โดยเน้นสู่ความเป็นเลิศและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบสอนห้องเรียน SMP ที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายให้มีความรู้ และทักษะขั้นสูงเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์และงกบคณิตศาสตร์ ที่เน้นจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ สนุกสนาน และเน้นการปฏิบัติการทดลองได้จริง
     หลังพิธีลงนาม MoU ดังกล่าว มีพิธีมอบครุภัณฑ์การเรียนการสอนและครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์บางส่วนมูลค่ากว่า 1,200,000 บาท ให้แต่ละโรงเรียน (ยังไม่รวมการปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่โรงเรียน)  เพื่อปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ของโรงเรียน และมีการประชุมเตรียมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการบริหารโครงการจาก มรย. และคณะกรรมการจากโรงเรียนทั้ง 6 โรงเรียน เพื่อเร่งดำเนินการปรับหลักสูตร กำหนดปฏิทินวิชาการ การรับสมัคร การสอบคัดเลือก การปฐมนิเทศ และการจัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2559 ต่อไป

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

รายงานตัวและปฐมนิเทศนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP


วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก (ชั้น1 ห้อง108 อาคาร 5) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  คณะกรรมการโครงการ SMP จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักวิทยาศาสตร์ ประจำโครงการ SMP ใหม่ จำนวน 7 คน ซึ่งจะปฏิบัติงานในพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรงเรียน รวมทั้งที่ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์การต้นแบบที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาด้วย 
   กิจกรรมปฐมนิเทศ มีอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี  รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะกรรมการประจำโครงการ SMP กล่าวตอนรับและเล่าถึงความเป็นมาของโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) กิจกรรมต่างๆ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ รวมทั้งภาระหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559 เป็นต้นไป จนเสร็จสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้ คือร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาและจัดการเรียนการสอนห้องเรียนส่งเสริมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเจตคติ รักการเรียนวิทยาศาสตร์ เน้นทักษะการปฏิบัติ การทดลอง การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน โดยอาศัยทักษะการสอนของผู้สอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากโครงการ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ประกาศผลการสอบคัดเลือกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


เอกสารแนบ 12ม.ค.59ผลการสอบคัดเลือกเจ้าหน้าที่ดูแลห้องปฏิบัติการต้นแบบวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผู้ผ่านการคัดเลือกรายงานตัวและปฐมนิเทศในวันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น1 ห้อง108 อาคาร5 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
หมายเหตุ ให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงการ SMP สอบสัมภาษณ์บุคลากรนักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนเครือข่าย

โครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานประจำโครงการฯ ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานในหน้าที่นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการโรงเรียนเครือข่าย และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสานงานโครงการ ติดตามประเมินผลโครงการ
       สำหรับเป้าหมายของโครงการ SMP YRU ที่สำคัญ คือ การร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาห้องเรียนต้นแบบด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา  6 โรงเรียน ได้แก่   (1) โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา ต.ลำใหม่ อ.เมือง (2) โรงเรียนมะอาหัดอิสลามียะห์ ต.บาลอ อ.รามัน (3) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ต.สะเตง อ.เมือง (4) โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ปะแต อ.ยะหา (5) โรงเรียนสุทธิศาสน์ ต.บ้านแหร อ.ธารโต และ (6) โรงเรียนดำรงวิทยาต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จังหวัดยะลา สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สนใจเรียนและสมัครศึกษาต่อในสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล หรือสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาของพื้นที่สามจังหวัดที่ปัจจุบันยังมีผู้สนใจเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์น้อยมาก

    สำหรับผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าหน้าที่ประจำโครงการคัดเลือกจากคุณสมบัติที่เหมาะสม ได้แก่ มีประสบการณ์ในการดูแลห้องปฏิบัติการ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานในพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายได้ และผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการปฐมนิเทศและฝึกอบรมความรู้และทักษะในการเตรียมการทดลอง (Lab) วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนและเป็นที่ปรึกษานักเรียนในการทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และที่ปรึกษาการทดลองในห้องปฏิบัติการของนักเรียนในโครงการต่อไป


วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP นำเสนอแนวคิดโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560



               
 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะกรรมการได้นำเสนอโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลาในปีงบประมาณ 2560






  
ซึ่งโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของ มรย. เสนอให้ดำเนินการต่อปีงบประมาณต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ การดำเนินโครงการนี้ในปีการศึกษา 2560

ดูภาพเพิ่มเติม
เพื่อพัฒนานักเรียนในชั้น ม. 5 ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ด้วยทรัพยากรที่ได้สร้างไว้แล้ว จึงจะเปิดรับนักเรียนชั้นเรียน ม. 4 ใหม่เพิ่มขึ้นในโรงเรียนเดิมอีกโรงเรียนละ 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 40 คน  รวมเป็นโรงเรียนละ 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 80 คน และจะเพิ่มกิจกรรมสำหรับนักเรียนห้อง SMP เพิ่มขึ้นจากเดิมปีประมาณ พ.ศ.2559 เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม










วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการโครงการ SMP มรย.นำเสนอกรอบแนวคิดโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดประชุมกลั่นกรองการเสนอกรอบแนวคิด โครงการและกิจกรรมเพื่อเสนอของบประมาณโครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  โดยสอดคล้องตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ โดยกรอบแนวคิดของโครงการที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ที่สอดคล้องกับพันธกิจและกรอบนโยบายการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาเยาวชน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านการสื่อสารเพื่อสันติภาพและสันติสุข ซึ่งคณะกรรมการได้นำเสนอโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยะลา

     กรอบความคิดของโครงการ SMP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของ มรย. เสนอให้ดำเนินการต่อปีงบประมาณต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ โดยขยายจำนวนนักเรียนใหม่ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีนักเรียนระดับชั้น ม.5 รหัสนักเรียน 59 จำนวน 240 คน (6 โรงเรียน ๆ ละ 40 คน) และรับนักเรียนใหม่ระดับชั้น ม.4 รหัส 60 จำนวน 240 คน (6 โรงเรียน ๆ ละ 40 คน) รวมสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 480 คน โดยงบประมาณเน้นไปในด้านการพัฒนาศักยภาพครู กิจกรรมพัฒนานักเรียน สร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี